SME คืออะไร? รู้จักประเภท และตัวอย่างธุรกิจ SME ที่คุณควรรู้SME คืออะไร? รู้จักประเภท และตัวอย่างธุรกิจ SME ที่คุณควรรู้
Article

SME คืออะไร? รู้จักประเภท และตัวอย่างธุรกิจ SME ที่คุณควรรู้

9 May 25

SME คืออะไร? มาทำความรู้จักความหมาย ประเภท และลักษณะของธุรกิจ SME ว่าคืออะไร เหมาะกับใคร พร้อมอธิบายประเภท จุดเด่น จุดด้อย และแนวทางการเริ่มต้นธุรกิจ

SME คือประเภทธุรกิจที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็กหรือขนาดกลาง ล้วนมีส่วนช่วยสร้างงาน สร้างรายได้ และสร้างความหลากหลายให้กับตลาด แต่ในโลกธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การปรับตัวและพัฒนาธุรกิจให้ทันสมัยจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะในยุคดิจิทัลที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทมากขึ้น

บทความนี้จะพาไปทำความรู้จักกับธุรกิจ SME ให้มากขึ้น โดยเจาะลึกว่าธุรกิจ SMEs มีอะไรบ้าง และธุรกิจ SMEs มีลักษณะอย่างไร พร้อมทั้งแนะนำธุรกิจส่วนตัวที่กำลังมาแรงในปีนี้ เพื่อให้ผู้ประกอบการ SME สามารถนำไปปรับใช้และพัฒนาธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนในยุคดิจิทัล



สารบัญบทความ



SME คืออะไร มีลักษณะอย่างไรบ้าง

SME ย่อมาจาก Small and Medium Enterprises ซึ่ง SME คือ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยในประเทศไทยนั้นมีอยู่มากมายหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นกิจการของบุคคลธรรมดา คณะบุคคล หรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ไปจนถึงห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด หรือแม้แต่กิจการร่วมค้า ซึ่งดำเนินธุรกิจทั้งในด้านการขายสินค้า การผลิตสินค้า หรือการให้บริการ1

ในปัจจุบัน SME ไม่ได้จำกัดอยู่แค่หน้าร้านแบบเดิม แต่สามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็วในรูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่เข้าถึงลูกค้าได้ทั่วประเทศและแม้แต่ต่างประเทศ ซึ่งปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ คือระบบหลังบ้านที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะระบบชำระเงินออนไลน์ที่ทันสมัย ปลอดภัย และใช้งานง่าย



SME ในประเทศไทย มีกี่ประเภท อะไรบ้าง

ธุรกิจ SME


เมื่อพูดถึงบริษัท SME หลายคนอาจสงสัยว่าประเภทธุรกิจขนาดย่อมและขนาดกลางมีอะไรบ้าง ในความเป็นจริงแล้ว ธุรกิจ SME สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภทหลัก ได้แก่

ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการค้า

ธุรกิจในกลุ่มนี้ คือกิจการที่เน้นการซื้อขายสินค้า โดยผู้ประกอบการจะเป็นผู้จัดหาสินค้ามาขายต่อให้กับลูกค้าหรือร้านค้าปลีกอื่น ๆ จุดเด่นคือการบริหารคลังสินค้าและการสร้างความสัมพันธ์กับคู่ค้า เช่น ร้านขายของชำ ร้านค้าปลีก ร้านค้าส่ง และร้านขายเครื่องใช้ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์สำนักงาน เป็นต้น โดยขนาดของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสามารถแบ่งตามขนาดได้ ดังนี้

  • วิสาหกิจรายย่อย (Micro Enterprise) มีรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี และมีการจ้างงานไม่เกิน 5 คน
  • วิสาหกิจขนาดย่อม (Small Enterprise) มีรายได้ไม่เกิน 100 ล้านบาทต่อปี มีการจ้างงานไม่เกิน 50 คน
  • วิสาหกิจขนาดกลาง (Medium Enterprise) มีรายได้ระหว่าง 100-500 ล้านบาทต่อปี และมีการจ้างงานระหว่าง 50-200 คน

ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการผลิต

ธุรกิจการผลิต คือธุรกิจที่แปรรูปวัตถุดิบหรือสินค้ากึ่งสำเร็จรูปออกมาเป็นสินค้าพร้อมขาย จุดเด่นอยู่ที่การวางแผนกระบวนการผลิต ควบคุมคุณภาพ และบริหารทรัพยากร เช่น โรงงานผลิตขนมและอาหารสำเร็จรูป โรงงานเสื้อผ้าขนาดเล็ก โรงงานเครื่องครัว ผู้ผลิตสินค้าหัตถกรรมและของที่ระลึก โดยขนาดของธุรกิจจะแบ่งตามรายได้และจำนวนพนักงาน ดังนี้

  • ธุรกิจรายย่อย มีรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี และพนักงานไม่เกิน 5 คน
  • ธุรกิจขนาดย่อม มีรายได้ไม่เกิน 50 ล้านบาทต่อปี และพนักงานไม่เกิน 30 คน
  • ธุรกิจขนาดกลาง มีรายได้ 50-300 ล้านบาทต่อปี และพนักงาน 30-100 คน

ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการบริการ

ธุรกิจบริการ เป็นอีกหนึ่งประเภทของ SME ที่เติบโตอย่างต่อเนื่องในประเทศไทย เพราะตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลาย จุดเด่นคือการนำความชำนาญมาสร้างรายได้ผ่านการให้บริการโดยตรง เช่น

 ร้านตัดผม ร้านเสริมสวย ร้านนวดเพื่อสุขภาพ โรงแรมขนาดเล็ก หรือโฮมสเตย์ บริษัทออกแบบกราฟิก หรือที่ปรึกษาด้านธุรกิจ เป็นต้น โดยขนาดของธุรกิจจะแบ่งตามรายได้และจำนวนพนักงาน ดังนี้

  • ธุรกิจรายย่อย มีรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี และพนักงานไม่เกิน 5 คน
  • ธุรกิจขนาดย่อม มีรายได้ไม่เกิน 50 ล้านบาทต่อปี และพนักงานไม่เกิน 30 คน
  • ธุรกิจขนาดกลาง มีรายได้ 50-300 ล้านบาทต่อปี และพนักงาน 30-100 คน2



SME สร้างความแข็งแกร่งให้เศรษฐกิจไทยอย่างไร

แม้นิยามของ SME จะดูเหมือนเป็นเพียงผู้ประกอบการรายย่อย แต่บทบาทของ SME ในการสร้างความแข็งแกร่งให้เศรษฐกิจไทยนั้นกลับยิ่งใหญ่เกินคาด ด้วยจำนวนผู้ประกอบการ SME ที่มีอยู่เป็นจำนวนมากทั่วประเทศ ทำให้ SME คือแหล่งสร้างงานที่สำคัญ กระจายรายได้สู่ชุมชน และเป็นฐานรากที่มั่นคงของเศรษฐกิจในระดับท้องถิ่น 

นอกจากนี้ SME ยังเป็นแหล่งบ่มเพาะนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ โดยผู้ประกอบการ SME มักมีความคล่องตัวในการปรับตัวและนำเสนอสินค้าหรือบริการใหม่ ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว การสนับสนุนและส่งเสริม SME จึงเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าในการสร้างความแข็งแกร่งและยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจไทยในระยะยาว



5 สิ่งที่ต้องเตรียมความพร้อมก่อนเริ่มธุรกิจ SME

ผู้ประกอบการ SME


ผู้ประกอบการที่อยากเริ่มต้นทำธุรกิจ SME ควรเตรียมความพร้อมให้รอบด้าน เพราะการเริ่มต้นที่ดีจะช่วยเพิ่มโอกาสให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้ง่ายขึ้น ซึ่งมีสิ่งสำคัญที่ต้องเตรียมความพร้อม ได้แก่

1. พิจารณาเรื่องของทรัพยากร

ก่อนเริ่มธุรกิจ ควรประเมินให้ชัดเจนว่ามีทรัพยากรเพียงพอหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรบุคคล ทรัพยากรทางการเงิน หรือทรัพยากรด้านอุปกรณ์และเครื่องมือต่าง ๆ เพราะการวางแผนการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยลดต้นทุนและเพิ่มโอกาสในการประสบความสำเร็จ 

2. การบริการหลังการขาย

ลูกค้าส่วนใหญ่มักตัดสินใจกลับมาซื้อซ้ำหรือบอกต่อจากประสบการณ์หลังการขาย ดังนั้น ธุรกิจ SME ควรเตรียมพร้อมด้านการดูแลลูกค้า เช่น การรับประกันสินค้า การตอบคำถามอย่างรวดเร็ว และการแก้ปัญหาอย่างใส่ใจเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าในระยะยาว

3. การวางแผนการเงิน

เรื่องเงินกับ SME คือสิ่งที่ต้องมาคู่กัน ผู้ประกอบการควรมีแผนการเงินที่ชัดเจน ตั้งแต่การลงทุนเริ่มต้น เงินทุนหมุนเวียน ไปจนถึงการวางแผนค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เพื่อให้รู้ว่าควรใช้เงินอย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมถึงสามารถควบคุมค่าใช้จ่าย วางแผนการลงทุน และบริหารกระแสเงินสดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4. เรียนรู้ความต้องการของลูกค้า

การเข้าใจความต้องการของลูกค้า คือจุดเริ่มต้นของการสร้างยอดขายที่มั่นคง ควรศึกษาให้รู้ว่าลูกค้าต้องการอะไร สินค้าหรือบริการ SME แบบไหนที่จะตอบโจทย์ และมีช่องทางใดบ้างที่ลูกค้านิยมใช้ในการติดต่อหรือสั่งซื้อ

5. พันธมิตรที่อำนวยความสะดวกต่อธุรกิจ

การมีพันธมิตรที่อำนวยความสะดวกต่อธุรกิจเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับ SME ในยุคดิจิทัล โดยเฉพาะการทำธุรกิจบนแพลตฟอร์มออนไลน์ เช่น การขายสินค้าบนเพจ Facebook การมีพันธมิตรที่ให้บริการระบบชำระเงินที่หลากหลายและเชื่อถือได้ จะช่วยให้ธุรกิจสามารถมอบประสบการณ์การชำระเงินที่สะดวกและรวดเร็วให้กับลูกค้า ซึ่งส่งผลดีต่อยอดขายและความพึงพอใจของลูกค้า

หนึ่งในพันธมิตรที่ธุรกิจสามารถวางใจได้ คือ KGP (Kasikorn Global Payment) ที่ให้บริการรับชำระเงินออนไลน์ผ่าน Meta Pay พร้อมช่องทางการรับเงินที่ครบถ้วน ทั้ง Mobile Banking, พร้อมเพย์, QR Code, บัตรเครดิต และบัตรเดบิต เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ราบรื่น ปลอดภัย และรองรับธุรกิจออนไลน์ทุกรูปแบบ



SME มีข้อได้เปรียบธุรกิจขนาดใหญ่อย่างไร

ธุรกิจขนาดเล็ก


หลายคนอาจมองว่า SME คือ ธุรกิจขนาดเล็กที่อาจสู้ธุรกิจใหญ่ไม่ได้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว SME มีข้อได้เปรียบที่สำคัญหลายด้าน ที่ทำให้สามารถปรับตัวได้รวดเร็วและเติบโตได้อย่างมั่นคง โดยข้อได้เปรียบของ SME ได้แก่

  • ความยืดหยุ่นสูง สามารถปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ได้เร็วตามกระแสตลาดและความต้องการของลูกค้า
  • ตัดสินใจได้รวดเร็ว โครงสร้างธุรกิจที่ไม่ซับซ้อน ทำให้ผู้ประกอบการตัดสินใจได้ทันทีโดยไม่ต้องผ่านหลายขั้นตอน
  • ใกล้ชิดกับลูกค้า มีโอกาสพูดคุย ฟังเสียงลูกค้าโดยตรง นำไปสู่การพัฒนาสินค้าและบริการได้ตรงใจ
  • ต้นทุนการดำเนินงานต่ำกว่า เนื่องจากขนาดธุรกิจเล็กลง การบริหารทรัพยากรจึงมีประสิทธิภาพและควบคุมค่าใช้จ่ายได้ง่าย
  • เปิดโอกาสสร้างความแตกต่างได้ง่าย สามารถทดลองไอเดียใหม่ ๆ ได้ตลอดเวลา ไม่ต้องกลัวข้อจำกัดใหญ่ ๆ เหมือนองค์กรขนาดใหญ่


SME ข้อจำกัดและความท้าทายอะไรบ้าง

แม้ว่า SME คือธุรกิจที่มีความคล่องตัวสูง แต่ก็ยังมีข้อจำกัดและความท้าทายที่ผู้ประกอบการต้องเผชิญและหาทางแก้ไขอยู่เสมอ เพื่อให้ธุรกิจเดินหน้าได้อย่างมั่นคง

  • ข้อจำกัดด้านเงินทุน เนื่องจากเป็นธุรกิจขนาดเล็กหรือธุรกิจส่วนตัว เงินทุนมักมาจากเจ้าของเองหรือสินเชื่อ ทำให้การขยายธุรกิจและการลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ ๆ เป็นไปได้ยาก
  • ข้อจำกัดด้านทรัพยากรบุคคล อาจมีข้อจำกัดในการดึงดูดและรักษาบุคลากรที่มีความสามารถ เนื่องจากข้อจำกัดด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการ 
  • ข้อจำกัดด้านการตลาดและการแข่งขัน การแข่งขันที่เข้มข้นจากธุรกิจขนาดใหญ่และธุรกิจออนไลน์ ทำให้ SME ต้องปรับตัวและสร้างความแตกต่างเป็นอย่างมาก เพราะธุรกิจใหญ่มีต้นทุนต่อหน่วยต่ำกว่า มีงบโฆษณามากกว่า และเข้าถึงตลาดได้ง่ายกว่า
  • ขาดการเข้าถึงเทคโนโลยีที่ทันสมัย บางธุรกิจไม่สามารถลงทุนในระบบดิจิทัลหรือเครื่องมือที่ทันสมัยได้
  • ความเสี่ยงจากการพึ่งพาลูกค้าไม่กี่ราย หากลูกค้ารายหลักหยุดซื้อ อาจส่งผลกระทบต่อรายได้ทันที



คำถามที่พบได้บ่อย (FAQs)

SME กับบริษัทต่างกันอย่างไร

SME คือ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มีขนาดเล็กถึงขนาดกลาง มีทุนจดทะเบียนพาณิชย์และรายได้ที่จำกัด โครงสร้างองค์กรไม่ซับซ้อน และมีความคล่องตัวในการดำเนินงานสูง การบริหารจัดการมักรวมศูนย์อยู่ที่เจ้าของธุรกิจหรือผู้บริหารไม่กี่คน และมีศักยภาพในการเติบโตอย่างค่อยเป็นค่อยไป 

ในขณะที่บริษัทสามารถมีขนาดได้หลากหลาย มีโครงสร้างองค์กรที่ซับซ้อนกว่า เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้หลากหลายช่องทาง มีระบบการบริหารจัดการที่เป็นระบบ และมีศักยภาพในการขยายธุรกิจได้รวดเร็วกว่า

SME เสียภาษีสรรพากรอย่างไร

SME มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ทั้งในรูปแบบบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ถ้าเป็นบุคคลธรรมดาจะเสียภาษีเงินได้ประเภท 40(8) และถ้าจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลจะเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามอัตราที่กำหนด



SME คือโอกาสทางธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการยุคใหม่  

SME คือ เป็นหัวใจสำคัญที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ด้วยความคิดสร้างสรรค์และความคล่องตัวในการปรับตัว ทำให้ธุรกิจสามารถสร้างความแตกต่างและเติบโตได้อย่างแข็งแกร่งในโลกธุรกิจยุคดิจิทัล ซึ่งการวางแผนธุรกิจอย่างรอบคอบ การเตรียมความพร้อม และการนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด จะเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยให้ SME สามารถก้าวข้ามความท้าทายและคว้าโอกาสทางธุรกิจได้อย่างเต็มศักยภาพ อย่างไรก็ตาม การสร้างความร่วมมือกับองค์กรขนาดใหญ่ยังเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่น่าสนใจ เพราะเป็นการเปิดโอกาสทางการขายที่กว้างขึ้น และสร้างความยั่งยืนให้กับทั้งสองฝ่าย พร้อมสร้างความยั่งยืนให้ธุรกิจเติบโตไปด้วยกัน โดยที่ SME สามารถเข้าถึงฐานลูกค้าและทรัพยากรขององค์กรใหญ่ได้ 

ในยุคดิจิทัลนี้ SME สามารถเพิ่มโอกาสทางธุรกิจได้ง่ายขึ้นด้วย KGP บริการรับชำระเงินผ่าน Meta Pay ช่วยให้ลูกค้าชำระเงินได้สะดวก พร้อมปิดการขายได้บน Facebook เพียงลูกค้าช้อป แชต คอนเฟิร์มออเดอร์ ก็สามารถรับเงินได้ทันทีผ่าน Meta Pay ที่รองรับทุกช่องทางการชำระเงิน ไม่ว่าจะเป็นบัตรเครดิต เดบิต หรือโอนเงินผ่านแอปธนาคาร ให้ KGP เป็นผู้ช่วย SME ในการรับเงิน เพิ่มโอกาสทางธุรกิจ และเติบโตอย่างก้าวกระโดด

KGP, Payment. Make It Smooth 

FB : kgpthailand

LinkedIn : Kasikorn Global Payment

www.kasikornglobalpayment.com 

อ้างอิง

  1. กรมสรรพากร. (2553). เกี่ยวกับรูปแบบธุรกิจ SMEs. rd.go.th

https://www.rd.go.th/fileadmin/user_upload/porkor/taxused/SMEs.pdf 

  1. KBIZ. (ม.ป.ป.). SME และธุรกิจ SME คืออะไร มีกี่ประเภท ไปทำความเข้าใจกัน. kasikornbank.com

https://www.kasikornbank.com/th/kbiz/article/pages/guide-for-sme-business-and-how-it-works.aspx

ข่าวสารและกิจกรรมอื่น ๆ

ติดตาม KGP ผ่านโซเชียลมีเดีย