ประเภทธุรกิจมีกี่รูปแบบ? อะไรบ้าง? มีความแตกต่างกันอย่างไรประเภทธุรกิจมีกี่รูปแบบ? อะไรบ้าง? มีความแตกต่างกันอย่างไร
บทความ

ประเภทธุรกิจมีกี่รูปแบบ? อะไรบ้าง? มีความแตกต่างกันอย่างไร

9 พ.ค. 68

ประเภทธุรกิจแบ่งออกเป็น 4 รูปแบบ ขึ้นอยู่กับผู้เริ่มก่อตั้งและลักษณะการจัดตั้งธุรกิจ มาหาคำตอบว่าประเภทของธุรกิจมีอะไรบ้าง พร้อมรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่

ในโลกธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การทำความเข้าใจประเภทธุรกิจต่าง ๆ เป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ประกอบการ และผู้ที่สนใจในแวดวงธุรกิจ ไม่ว่าคุณจะกำลังวางแผนเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวใหม่ หรือเพียงต้องการเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับโลกธุรกิจ 

มาหาคำตอบกันว่ารูปแบบของธุรกิจมีกี่ประเภท อะไรบ้าง? พร้อมประเภทกิจการหลัก ๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพื่อให้คุณมีความเข้าใจที่ครอบคลุมและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง



สารบัญบทความ



รูปแบบประเภทธุรกิจ มีอะไรบ้าง

ประเภทธุรกิจ มีกี่ประเภท


ประเภทของการประกอบธุรกิจแบ่งตามผู้เริ่มก่อตั้งและลักษณะการจัดตั้ง โดยไม่จำกัดว่าจะเป็นธุรกิจที่มีการชำระเงินด้วยเงินสด หรือระบบชำระเงินออนไลน์ โดยมีจุดมุ่งหมายการแบ่งเพื่อการจดทะเบียนทางการค้า การจัดทำบัญชีเพื่อรวบรวมข้อมูลที่เกิดขึ้นในธุรกิจ และจัดทำบันทึกรายการทางการเงินที่เกิดขึ้นในธุรกิจได้อย่างถูกต้อง มาดูกันว่าธุรกิจแบ่งออกเป็นกี่ประเภท ดังนี้

1. กิจการเจ้าของคนเดียว (Single Proprietorship)

กิจการเจ้าของคนเดียว (Single Proprietorship) คือลักษณะของธุรกิจที่เป็นกิจการขนาดเล็ก เริ่มก่อตั้งและวางเงินทุนจากคนเพียงคนเดียว โดยเจ้าของกิจการมีอำนาจทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นการบริหารงาน จัดการงาน และการดำเนินกิจการ ซึ่งธุรกิจประเภทนี้เจ้าของสามารถจ้างพนักงานมาช่วยงานในกิจการได้ ยกตัวอย่าง เช่น ธุรกิจออนไลน์ ธุรกิจร้านขายของชำ ธุรกิจร้านอาหาร เป็นต้น

2. ห้างหุ้นส่วน (Partnership)

ห้างหุ้นส่วน (Partnership) คือประเภทธุรกิจที่มีการจดทะเบียนพาณิชย์ ว่าทางธุรกิจมีผู้ลงเงินทุนและก่อตั้งตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป และได้มีการกำหนดข้อตกลงต่าง ๆ เงื่อนไขในการลงเงินทุน และการแบ่งรายได้จากธุรกิจให้กับผู้ร่วมก่อตั้งอย่างชัดเจน ในส่วนของการบริหารงาน สามารถแต่งตั้งหุ้นส่วนบุคคลใดบุคคลหนึ่งในการบริหารงาน หรือทำงานในบทบาทใดบทบาทหนึ่งก็ได้ โดยทางกฎหมายได้แบ่งรูปแบบของธุรกิจห้างหุ้นส่วนเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่

  1. ห้างหุ้นส่วนสามัญ คือประเภทกิจการที่ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนมีส่วนรับผิดชอบในหนี้สินทั้งหมดแบบไม่จำกัดจำนวน สามารถเลือกได้ว่าจะจดทะเบียนจัดตั้งหรือไม่ หากจดทะเบียนจะมีฐานะเป็นนิติบุคคล จำเป็นต้องมีคำว่า “นิติบุคคล” ต่อท้ายชื่อห้างหุ้นส่วน
  2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 
  • ประเภทจำกัดความรับผิดชอบ ที่หุ้นส่วนจะรับผิดไม่เกินจำนวนเงินที่ลงหุ้นเท่านั้น และจะไม่มีสิทธินำชื่อตนมาประกอบเป็นชื่อห้าง 
  • ประเภทไม่จำกัดความรับผิดชอบ ที่หุ้นส่วนจะรับผิดในบรรดาหนี้สินแบบไม่จำกัดจำนวน และเข้าถึงการบริหารการเงินของธุรกิจได้

3. บริษัทจำกัด (Company)

บริษัทจำกัด (Company) คือประเภทธุรกิจที่มีผู้ร่วมดำเนินงาน 3 คนขึ้นไป โดยทางกฎหมายได้แบ่งรูปแบบของธุรกิจบริษัทจำกัดเป็น 2 ประเภทย่อย

  • บริษัทเอกชน จำกัด (Corporation) คือรูปแบบของธุรกิจที่ต้องมีผู้ร่วมลงเงินทุนและก่อตั้งอย่างน้อย 3 คนขึ้นไป โดยคนทั่วไปไม่สามารถซื้อหุ้นเหล่านี้ได้ หุ้นต้องมีมูลค่าขั้นต่ำหุ้นละ 5 บาท และต้องชำระมูลค่าหุ้นในครั้งเริ่มต้นไม่น้อยกว่า 25% โดยผู้ถือหุ้นมีส่วนรับผิดชอบเท่ากับหุ้นที่ตัวเองถืออยู่เท่านั้น
  • บริษัทมหาชน จำกัด (Public Corporation) คือประเภทธุรกิจที่มีผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 15 คน มีการจำหน่ายหุ้นให้คนทั่วไปสามารถซื้อและเข้าร่วมเป็นหุ้นส่วนของบริษัทได้ตามสัดส่วนที่ซื้อ และหุ้นสามารถขายหุ้นต่อตามตลาดหลักทรัพย์ได้



ประเภทธุรกิจของ SME มีอะไรบ้าง

หลายคนอาจจะสงสัยว่า SME คืออะไร? โดย SME หรือ Small and Medium Enterprises คือธุรกิจขนาดย่อมไปจนถึงขนาดกลาง ธุรกิจเหล่านี้มักจะมีสินทรัพย์และพนักงานในการดำเนินธุรกิจไม่มาก เพราะมักจะเป็นธุรกิจที่เริ่มต้นจากเงินทุนของผู้ก่อตั้งเอง อย่างไรก็ตาม SME มีความสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศทั้งทางด้านสังคมและเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก มาดูกันว่าประเภทธุรกิจของ SME มีอะไรบ้าง ดังนี้

  • ธุรกิจประเภทการค้า คือธุรกิจ SME ที่เกี่ยวข้องกับการค้าส่งและค้าปลีก ตลอดจนการนำเข้าและส่งออกสินค้าต่างประเทศ เช่น ธุรกิจห้างสรรพสินค้า ธุรกิจส่งออกอาหาร ธุรกิจขายเสื้อผ้าแฟชั่น เป็นต้น
  • ธุรกิจประเภทการบริการ คือธุรกิจ SME ที่ไม่ได้ขายสินค้า แต่เป็นการขายบริการเป็นหลัก เช่น ธุรกิจเสริมสวย ธุรกิจโรงแรม ธุรกิจการท่องเที่ยว ธุรกิจด้านสุขภาพ เป็นต้น
  • ธุรกิจประเภทการผลิต คือธุรกิจ SME ที่ดำเนินการผลิตสินค้าเพื่อนำมาขาย ครอบคลุมทั้งภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และการทำเหมืองแร่ เช่น โรงงานผลิตอาหารแช่แข็ง โรงงานเครื่องดื่ม โรงงานผลิตกระดาษ เป็นต้น



ประเภทธุรกิจในทางบัญชีและการจัดทำบัญชี แบ่งอย่างไร 

ประเภทธุรกิจ คืออะไร


ประเภทธุรกิจในทางบัญชีและการจัดทำบัญชี มักแบ่งออกตามลักษณะการดำเนินงานทางด้านธุรกิจ โดยรูปแบบการดําเนินธุรกิจ มีกี่ประเภท อะไรบ้าง ดังนี้

1. ธุรกิจให้บริการ (Service Firm)

ธุรกิจให้บริการ (Service Firm) คือประเภทธุรกิจที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อให้บริการลูกค้าในด้านต่าง ๆ โดยไม่มีสินค้าเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่จะเน้นไปที่งานบริการเพียงอย่างเดียว เช่น ธุรกิจโรงแรม ท่องเที่ยว เสริมสวย การช่าง บริการอินเทอร์เน็ต เป็นต้น 

2. ธุรกิจอุตสาหกรรม (Manufacturing Firm)

ธุรกิจอุตสาหกรรม (Manufacturing Firm) คือประเภทธุรกิจที่แปรสภาพวัตถุดิบเป็นสินค้าของตัวเองเพื่อจัดจำหน่ายให้แก่กลุ่มลูกค้า หรือจะส่งออกให้ธุรกิจอื่น ๆ เพื่อนำไปจัดจำหน่ายต่อก็ได้เช่นกัน เช่น โรงงานผลิตอาหารสำเร็จรูป โรงงานทำขนม โรงงานผลิตเครื่องดื่ม โรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ เป็นต้น

3. ธุรกิจซื้อขายสินค้า (Merchandising Firm)

ธุรกิจซื้อขายสินค้า (Merchandising Firm) คือประเภทธุรกิจที่จัดจำหน่ายสินค้าให้กับลูกค้า โดยตัวสินค้าที่จัดจำหน่ายสามารถมาจากกิจการอื่น ๆ ก็ได้ แต่ต้องไม่มีการแปรเปลี่ยนสภาพของสินค้าที่นำมาขาย เช่น ธุรกิจร้านสะดวกซื้อ ตัวแทนจำหน่าย ห้างสรรพสินค้า ธุรกิจขายสินค้าออนไลน์หรือ e-Commerce เป็นต้น



KGP โซลูชันการรับชำระเงินออนไลน์ สะดวก ปลอดภัย สำหรับประเภทธุรกิจทุกขนาด

หากคุณเป็นเจ้าของธุรกิจซื้อขายสินค้าในรูปแบบออนไลน์ อยากมีตัวช่วยในการรับชำระสินค้าที่รวดเร็ว ปลอดภัย และแม่นยำ ขอแนะนำ บริการรับชำระเงินผ่าน Meta Pay กับ KGP ที่จะช่วยให้คุณวางใจในทุกการชำระเงิน อำนวยความสะดวกในการเรียกเก็บเงินลูกค้าผ่าน Messenger ทันทีที่ได้รับแจ้งยอดเรียกเก็บ ไม่ต้องสลับแอปไปมาให้สับสน ปิดการขายได้อย่างรวดเร็ว หมดปัญหาเลขบัญชีผิด สลิปปลอม และยังเลือกช่องทางการจ่ายเงินได้อย่างหลากหลายอีกด้วย



คำถามที่พบได้บ่อย (FAQs)

SME กับ Startup แตกต่างกันอย่างไร

Startup คืออะไร? Startup คือประเภทธุรกิจที่เพิ่งเกิดใหม่ และมีศักยภาพในการเติบโตอย่างรวดเร็ว เน้นขยายตลาดในวงกว้าง และกลายเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ในอนาคต โดยมีเงินทุนมาจากการร่วมลงเงินทุนจากผู้ที่สนใจเป็นส่วนหนึ่งในธุรกิจ

แตกต่างจาก SME ที่เป็นธุรกิจขนาดย่อมไปจนถึงขนาดกลาง เป็นธุรกิจที่มีอยู่แล้วในตลาด เติบโตแบบค่อย ๆ เป็นค่อย ๆ ไป เน้นการสร้างผลตอบแทนในอนาคต โดยได้แหล่งเงินทุนมาจากทุนส่วนตัวของเจ้าของธุรกิจ หรือเงินที่ได้จากสินเชื่อเงินสดจากธนาคาร



สรุปประเภทธุรกิจต่าง ๆ ในปี 2025

ประเภทธุรกิจ คือการแบ่งหมวดหมู่ของธุรกิจ เพื่อจำแนกและอำนวยความสะดวกในการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยธุรกิจมีกี่ประเภท? หากแบ่งตามลักษณะการจัดตั้ง สามารถแบ่งประเภทธุรกิจได้เป็น 4 รูปแบบ คือ กิจการเจ้าของคนเดียว ห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัด และรัฐวิสาหกิจ โดยผู้ประกอบการควรทำความเข้าใจประเภทธุรกิจของตนเพื่อการจดทะเบียนทางการค้าที่ถูกต้อง นอกจากนี้ ยังมีการแบ่งธุรกิจตามประเภทของสินค้าหรือบริการ โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ธุรกิจการให้บริการ ธุรกิจการซื้อขายสินค้า และธุรกิจอุตสาหกรรมการผลิตสินค้า

ในปี 2025 จะเห็นได้ว่าประเภทธุรกิจออนไลน์กำลังเป็นที่นิยมและเติบโตได้รวดเร็ว การอำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าจึงเป็นอีกหนึ่งหัวใจสำคัญของการเพิ่มยอดขายให้กับธุรกิจของคุณ ขอแนะนำ KGP บริการรับชำระเงินที่จะเข้ามาช่วยให้การขายสินค้าเป็นเรื่องง่ายเพียงปลายนิ้วสัมผัส กับระบบรับชำระเงินออนไลน์ผ่าน Meta Pay บน Messenger ที่รองรับทั้งการชำระผ่านแอปพลิเคชันธนาคาร บัตรเครดิต บัตรเดบิต และ QR Code เพิ่มความปลอดภัยให้ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายได้อย่างดี 

KGP, Payment. Make It Smooth 

FB : kgpthailand

LinkedIn : Kasikorn Global Payment

www.kasikornglobalpayment.com

อ้างอิง

1. ศูนย์กลางบริการภาครัฐเพื่อภาคธุรกิจ. (2559). 2.การกำหนดประเภทธุรกิจ. bizportal.go.th

https://bizportal.go.th/th/Home/Article/2 

2. วิริยา บุญมาเลิศ. (ม.ป.ป.). การแบ่งประเภทธุรกิจ (Type of Business). ssru.ac.th

https://ssru.ac.th/content-rank/29.pdf 

3. กรมประชาสัมพันธ์. (ม.ป.ป.). ประเภทของธุรกิจ SMEs. prd.go.th

https://www.prd.go.th/th/content/category/detail/id/31/iid/242629 

4. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. (ม.ป.ป.). บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการบัญชี. sru.ac.th

https://hiperc.sru.ac.th/pluginfile.php/76714/mod_resource/content/1/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%201%20%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B9%84%E0%B8%9B%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8A%E0%B8%B5.pdf

ข่าวสารและกิจกรรมอื่น ๆ

ติดตาม KGP ผ่านโซเชียลมีเดีย