

e-Commerce คืออะไร เหมาะกับธุรกิจออนไลน์แบบไหน?
e-Commerce Website คืออีกหนึ่งช่องทางทำเงินที่เจ้าของธุรกิจสามารถขายสินค้าผ่านเว็บไซต์ได้ ช่วยเพิ่มโอกาสสร้างยอดขายได้มากยิ่งขึ้น
e-Commerce คือ หนึ่งในพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคในยุคสมัยนี้ เพราะการซื้อขายแบบดั้งเดิมเริ่มถูกแทนที่ด้วยการขายผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น ระบบอีคอมเมิร์ซจึงเป็นสิ่งที่หลายธุรกิจให้ความสนใจ ซึ่งนอกจากความสะดวกรวดเร็วของผู้ซื้อแล้ว เจ้าของธุรกิจเองก็ยังนำเสนอสินค้าให้กับผู้คนจากทั่วทุกมุมโลกให้เป็นที่รู้จักได้ และง่ายต่อการปิดดีลด้วยระบบชำระเงินออนไลน์ ที่สามารถทำได้ด้วยปลายนิ้วจากทุกที่ทุกเวลา
สารบัญบทความ
- e-Commerce คืออะไร?
- e-Commerce มีกี่ประเภท อะไรบ้าง
- e-Commerce เหมาะกับสินค้าอะไรบ้าง
- การทำ e-Commerce มีข้อดีอย่างไร
- การทำ e-Commerce มีข้อจำกัดหรือไม่
- e-Commerce มีช่องทางไหนบ้าง
- วิธีการโปรโมตสินค้า e-Commerce ให้เป็นที่รู้จัก และเพิ่มยอดขาย
- แนวโน้ม e-Commerce ในปี 2025 เป็นอย่างไร
- คำถามที่พบได้บ่อย (FAQs)
- e-Commerce โอกาสเพิ่มยอดขายที่ง่ายเพียงปลายนิ้ว
e-Commerce คืออะไร?
e-Commerce หรืออีคอมเมิร์ซ คือ การซื้อขายสินค้าและบริการผ่านอินเทอร์เน็ต โดยตลาดอีคอมเมิร์ซที่โดดเด่นและสร้างรายได้มากที่สุดคือการซื้อขายระหว่างธุรกิจกับธุรกิจ (B2B) และธุรกิจกับผู้บริโภค (B2C) การซื้อขายออนไลน์ระหว่างสองธุรกิจเรียกว่า B2B ในขณะที่การทำธุรกรรมออนไลน์ระหว่างผู้ค้าปลีกและผู้บริโภคทั่วไปเรียกว่า B2C
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา รูปแบบผู้บริโภคสู่ผู้บริโภค (C2C) ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยมีแพลตฟอร์มชื่อดังอย่าง eBay, Etsy และ Taobao เป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ นอกจากนี้ พัฒนาการล่าสุดของอีคอมเมิร์ซทั่วโลกยังผลักดันให้ตลาดมุ่งเน้นไปที่ช่องทางบนอุปกรณ์เคลื่อนที่มากขึ้น ปัจจุบัน นอกเหนือจากแพลตฟอร์มออนไลน์บนคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์พกพาแล้ว ผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซและธุรกิจออนไลน์จำนวนมากยังจำหน่ายสินค้าผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ รวมถึงแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ด้วย1
ซึ่งธุรกิจ e-Commerce ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่เว็บไซต์ แต่ยังรวมถึงแอปพลิเคชันต่าง ๆ ด้วย ดังนี้
- e-Commerce ในรูปแบบ Marketplace เช่น Shopee, Lazada, Temu
- e-Commerce หรือSocial Media ที่มีฟังก์ชัน Shopping เช่น Facebook, TikTok, Line Shopping
- e-Commerce ที่ดำเนินการโดยบริษัทขนาดใหญ่ เช่น Central, The Mall, Noc Noc ซึ่งมีทั้งเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน
- e-Commerce ที่เป็น Food Delivery เช่น Lineman, Grab, Robinhood, Food Panda
e-Commerce มีกี่ประเภท อะไรบ้าง
แม้ว่าจุดประสงค์ของการทำเว็บไซต์ e-Commerce นั้นเพื่อสร้างยอดขายให้กับธุรกิจเหมือนกัน แต่ก่อนเริ่มทำระบบ e-Commerce ก็จำเป็นต้องเข้าใจถึงประเภทธุรกิจอีคอมเมิร์ซด้วยเหมือนกัน โดยสามารถจัดประเภทได้ดังนี้
- B2C (Business to Consumer) รูปแบบที่พบได้บ่อยในตลาด e-Commerce ซึ่งบริษัทหรือร้านค้าจัดจำหน่ายสินค้า หรือบริการให้แก่ผู้ใช้งานปลายทาง เช่น การสั่งซื้อสินค้าแฟชั่นจากเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันออนไลน์
- B2B (Business to Business) ประเภท e-Commerce ที่ซื้อขายระหว่างองค์กรธุรกิจด้วยกัน เช่น โรงงานที่จำหน่ายวัตถุดิบให้แก่ผู้ผลิต การจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ หรือบริการที่เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจ
- C2B (Consumer to Business) กรณีที่ผู้บริโภคเสนอสินค้า บริการให้กับกลุ่มธุรกิจ หรือการประมูลสินค้าบนเว็บไซต์
- C2C (Consumer to Consumer) การซื้อขายที่เกิดขึ้นระหว่างผู้บริโภคด้วยกันเองผ่านตลาดกลาง เช่น การขายสินค้ามือสองผ่านเว็บไซต์ หรือแพลตฟอร์ม Marketplace เป็นต้น
- B2G (Business to Government) การซื้อขายที่ภาคเอกชนจัดหาสินค้าหรือให้บริการแก่หน่วยงานภาครัฐ เช่น บริษัทเทคโนโลยีที่รับจ้างพัฒนาระบบสารสนเทศให้กับรัฐบาล
- C2G (Consumer to Government) รูปแบบนี้พบได้ในบริการที่ประชาชนต้องมีปฏิสัมพันธ์กับหน่วยงานรัฐ เช่น การชำระภาษีผ่านระบบออนไลน์ หรือการขอรับสิทธิประโยชน์ทางสังคม
- G2B (Government to Business) คือบริการหรือข้อมูลที่ภาครัฐมอบให้แก่ภาคธุรกิจเพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินงาน เช่น การให้บริการยื่นคำขอใบอนุญาตหรือการจดทะเบียนกิจการผ่านระบบดิจิทัล
- G2C (Government to Consumer) เป็นบริการที่รัฐจัดให้กับประชาชนโดยตรง เช่น การทำใบขับขี่ออนไลน์ หรือการยื่นคำร้องต่าง ๆ ผ่านเว็บไซต์ของหน่วยงานราชการ
e-Commerce เหมาะกับสินค้าอะไรบ้าง
e-Commerce เป็นการขายสินค้าออนไลน์ที่ประยุกต์ใช้ได้กับหลายธุรกิจไม่ว่าจะเป็นการขายสินค้าหรือบริการ เพียงแต่ต้องไม่ใช่สิ่งที่ผิดกฎหมาย และไม่ขัดต่อเงื่อนไขในการจัดส่ง อาจระบุเป็นภาพรวมได้ 3 กลุ่มประเภท ดังนี้
- กลุ่มสินค้าจับต้องไม่ได้ สินค้าในรูปแบบของแอปพลิเคชัน ซอฟต์แวร์ หรือระบบ CRM
- กลุ่มสินค้าจับต้องได้ เช่น อาหาร เครื่องสำอาง เสื้อผ้า เป็นต้น
- กลุ่มสินค้าบริการ เช่น บริการจองโรงแรมที่พัก ตัวเครื่องบิน เป็นต้น
การทำ e-Commerce มีข้อดีอย่างไร
การทำ e-Commerce Platform เป็นทางเลือกที่น่าสนใจต่อผู้ประกอบการ และอำนวยความสะดวกให้กับผู้บริโภคโดยตรง ซึ่งจะมีข้อดี ดังนี้
- การเข้าถึงตลาดทั่วโลก e-Commerce เปิดโอกาสให้ทุกธุรกิจสามารถนำเสนอสินค้าและบริการแก่ลูกค้าทั่วทุกมุมโลก ทำให้ขยายฐานลูกค้าได้อย่างไร้ขีดจำกัด
- ลดต้นทุนการดำเนินงาน การขายสินค้าออนไลน์ช่วยลดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการเช่าพื้นที่ร้านค้า ค่าสาธารณูปโภค และค่าจ้างพนักงาน นอกจากนี้ ร้านค้าออนไลน์ยังสามารถเปิดให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง
- ความสะดวกสบายในการซื้อขาย ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อสินค้าและบริการได้ทุกที่ทุกเวลา ผ่านระบบออนไลน์
- การสื่อสารโดยตรงกับลูกค้า e-Commerce ช่วยให้ธุรกิจสามารถสื่อสารและรับฟังความคิดเห็นจากลูกค้าได้โดยตรง ทำให้เข้าใจความต้องการและปรับปรุงสินค้าและบริการให้ตรงใจลูกค้ามากขึ้นโดยไม่ต้องผ่านตัวกลาง
- การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อพัฒนากลยุทธ์ ประโยชน์ของระบบ e-Commerce ยังสามารถเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมการซื้อของลูกค้า ช่วยให้เจ้าของธุรกิจสามารถปรับปรุงกลยุทธ์การตลาดและการขายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ความยืดหยุ่นในการปรับตัว เจ้าของธุรกิจสามารถปรับเปลี่ยนสินค้า ราคา และโปรโมชันได้อย่างรวดเร็วตามความต้องการของตลาด ทำให้สามารถตอบสนองต่อแนวโน้มและความเปลี่ยนแปลงได้อย่างทันท่วงที
การทำ e-Commerce มีข้อจำกัดหรือไม่
แม้ว่าระบบอีคอมเมิร์ซอาจดูเหมือนเป็นทางเลือกและเป็นโอกาสที่ดีให้กับเจ้าของธุรกิจ เพราะมีข้อดีที่น่าสนใจมากมาย แต่การทำ e-Commerce ในไทย ก็ยังมีข้อจำกัดอยู่บ้างดังต่อไปนี้
- การปรับแต่งหรือควบคุมร้านค้าออนไลน์ ไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการอย่างเต็มที่
- อาจเกิดความลังเลในสินค้า การซื้อขายออนไลน์ทำให้ผู้ซื้อไม่สามารถทดลอง หรือสัมผัสสินค้าก่อนตัดสินใจซื้อ ซึ่งอาจทำให้เกิดความลังเล โดยเฉพาะกับสินค้าที่ต้องการการทดลอง เช่น เสื้อผ้าหรือรองเท้า
- ปัญหาทางเทคนิค การซื้อขายบนระบบออนไลน์ อาจมีข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากระบบเครือข่ายมีปัญหา เว็บไซต์ล่ม หรือเกิดความผิดพลาดในการชำระเงิน
- ความปลอดภัยของข้อมูล การทำธุรกรรมออนไลน์มีความเสี่ยงต่อการถูกฉ้อโกงหรือการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล โดยเฉพาะเมื่อขาดมาตรการรักษาความปลอดภัยในการปกป้องข้อมูล
e-Commerce มีช่องทางไหนบ้าง
การทำ e-Commerce สามารถเลือกทำได้หลายช่องทาง เพราะไม่ได้มีข้อจำกัดว่าจะเป็นรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งเท่านั้น เพียงแต่ต้องอยู่ในรูปแบบออนไลน์ โดยแพลตฟอร์ม e-Commerce ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันมีทั้งหมด 3 ช่องทาง คือ
1. เว็บไซต์ e-Commerce
สำหรับเว็บไซต์ e-Commerce จะมาพร้อมฟังก์ชันที่สามารถซื้อขายผ่านบริการออนไลน์ได้ผ่านเว็บไซต์ทันที และยังสามารถเลือกได้ว่าสร้างเว็บไซต์ขึ้นมาใหม่เอง หรือเลือกใช้แพลตฟอร์มที่สามารถสร้าง e-Commerce Website สำเร็จรูปได้ เช่น Megento, Shopify, Squarespace, และ Weebly เป็นต้น
- ข้อดี มีความน่าเชื่อถือ เพราะเปรียบเหมือนหน้าร้านที่ช่วยให้เข้าถึงแบรนด์และสินค้าได้ง่าย และสามารถเก็บข้อมูลลูกค้าเพื่อนำไปวิเคราะห์หรือใช้ในแผนการตลาดได้โดยตรง
- ข้อจำกัด ต้องพัฒนาเว็บไซต์และดูแลระบบ นอกจากนี้ ยังต้องคอยดูแลและอัปเดตอยู่เสมอ
2. ร้าน Marketplace
การขายสินค้าผ่านแพลตฟอร์ม Marketplace ที่มีฐานลูกค้าขนาดใหญ่ เช่น Shopee, Lazada, หรือ Amazon เป็นต้น โดยร้านค้าจะเปิดร้านในระบบของแพลตฟอร์มเหล่านั้นเพื่อลงขายสินค้าได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย แต่จะมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเมื่อขายสินค้าเรียบร้อยแล้ว
- ข้อดี ช่วยให้เข้าถึงฐานลูกค้าจำนวนมากได้ในทันที พร้อมด้วยระบบการซื้อขายที่ครบวงจร ทำให้กระบวนการซื้อขายสะดวก รวดเร็ว และมีความปลอดภัย ทำให้ Conversion Rate เพิ่มขึ้น เพราะลูกค้าสามารถทำการซื้อได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ ยังช่วยลด Lead Time ในการปิดการขาย ทำให้ธุรกิจสามารถสร้างรายได้และเติบโตได้อย่างรวดเร็ว
- ข้อจำกัด มีการแข่งขันสูงจากร้านค้าประเภทเดียวกันภายในแพลตฟอร์ม และบางแพลตฟอร์มยังมีการเก็บค่าธรรมเนียม หรือค่าคอมมิชชันจากการขาย ทำให้ต้องตั้งราคาสูงขึ้น
3. Social Commerce
รูปแบบของ e-Commerce ที่ใช้แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook, Instagram, Line Shopping หรือ TikTok เป็นต้น เป็นช่องทางหลักในการขายสินค้า มักเน้นการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าแบบใกล้ชิด โดยใช้คอนเทนต์ในการกระตุ้นยอดขาย
- ข้อดี สื่อสารกับลูกค้าได้โดยตรงและรวดเร็ว เหมาะกับสินค้าที่ต้องใช้การเล่าเรื่อง สร้างความเชื่อมั่น หรือกระตุ้นอารมณ์ในการซื้อด้วยกลยุทธ์ในการทำคอนเทนต์
- ข้อจำกัด ความน่าเชื่อถือน้อยกว่ารูปแบบอื่น และไม่เหมาะกับสินค้าบางประเภท ดังนั้น ผู้ขายต้องศึกษากลุ่มเป้าหมาย และเลือกทำการตลาดที่เหมาะสมเท่านั้น
วิธีการโปรโมตสินค้า e-Commerce ให้เป็นที่รู้จัก และเพิ่มยอดขาย
เนื่องจากเป็นการขายสินค้าผ่านระบบออนไลน์ และยังมีคู่แข่งเพิ่มสูงขึ้น การโปรโมตสินค้า e-Commerce อย่างเหมาะสมและเข้าใจในวิธีการจะช่วยสร้างโอกาสเพิ่มยอดขายได้ โดยเฉพาะ 3 วิธีต่อไปนี้
- สร้างกลยุทธ์การตลาดดิจิทัลผ่านแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย เช่น การทำคอนเทนต์ที่น่าสนใจ เกาะกระแส อยู่บนเทรนด์ที่มีผู้คนสนใจ ผ่านแพลตฟอร์มโซเชียลอย่าง TikTok, Instagram, Facebook, Line และ X โดยสิ่งสำคัญคือการทำอย่างต่อเนื่อง
- เพิ่มประสิทธิภาพเว็บไซต์เพื่อให้ติดอันดับบนเครื่องมือค้นหา (SEO) เป็นวิธีที่เหมาะสำหรับเว็บไซต์ อีคอมเมิร์ซ ด้วยการปรับแต่งเว็บไซต์ และสร้างเนื้อหาตามโครงสร้างของ SEO เพื่อให้เว็บไซต์ถูกจัดอันดับในหน้าแรก หรือติดอันดับต้น ๆ บน Google หรือ Bing
- สร้างและจัดการแคมเปญโฆษณาบน Google Ads คล้ายกับการทำ SEO แต่ไม่ต้องใช้ระยะเวลาที่นานเหมือน SEO เพียงแต่การยิงแอด หรือทำ Google Ads ต้องแลกมาด้วยค่าใช้จ่าย ผ่านการวิเคราะห์ Keyword เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างเหมาะสม
แนวโน้ม e-Commerce ในปี 2025 เป็นอย่างไร
ตลาด e-Commerce ยังคงมีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ยิ่งในปี 2025 นี้ คาดว่าจะเติบโตขึ้นอีกกว่า 7% และมีสัดส่วนอยู่ที่ราว ๆ 25.4% จากปัจจัยของผู้บริโภคที่ต้องการความสะดวกสบาย อีกทั้งยังมีหลายแพลตฟอร์มที่สามารถซื้อสินค้าออนไลน์ได้ โดยเฉพาะ Social Commerce อย่าง Facebook ที่มาพร้อมการชำระเงินที่ง่ายกว่าเมื่อก่อน
เพื่อไม่ให้เจ้าของธุรกิจพลาดในทุกโอกาสสำคัญ KGP บริการรับชำระเงินผ่าน Meta Pay โดยเจ้าของธุรกิจสามารถส่งคำขอการชำระเงินให้กับลูกค้าโดยตรงผ่านการแชตบน Messenger ได้ทันที และไม่เพียงแค่ความสะดวกสบาย แต่ยังปลอดภัยด้วยระบบอัปเดตสถานะการชำระเงินให้อัตโนมัติทันทีที่ได้รับการชำระ ทำ e-Commerce ยุคนี้ ยิ่งง่าย ยิ่งมีโอกาสเพิ่มยอดขาย
คำถามที่พบได้บ่อย (FAQs)
e-Commerce เจ้าดังในไทยมีอะไรบ้าง
ธุรกิจ e-Commerce ในประเทศไทยที่คุ้นเคยกันดีคือ Shopee และ Lazada ซึ่งเป็นรูปแบบของ Marketplace รองลงมาคือกลุ่มของ Social Commerce เช่น Facebook, TikTok
e-Commerce กับ E-business ต่างกันอย่างไร
e-Commerce จะเน้นที่การซื้อขายสินค้าหรือบริการ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ขณะที่ E-business เป็นการดำเนินธุรกรรมทุก ๆ ขั้นตอน ทั้งหน้าร้านและหลังร้านผ่านอิเล็กทรอนิกส์ หรือเรียกได้ว่า e-Commerce นั้นคือส่วนหนึ่งของ E-business ได้เช่นกัน
e-Commerce โอกาสเพิ่มยอดขายที่ง่ายเพียงปลายนิ้ว
การทำธุรกิจ e-Commerce เป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญของผู้ประกอบการ เพราะไม่เพียงแค่โอกาสในการเพิ่มยอดขาย แต่ยังช่วยลดต้นทุนการดำเนินงาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องค่าสถานที่ ค่าพนักงาน ทั้งนี้ก็ต้องเลือกรูปแบบและประเภทของอีคอมเมิร์ซให้เหมาะสมกับธุรกิจ หรืออาจเลือกทำ เว็บไซต์ อีคอมเมิร์ซ ควบคู่ไปกับการทำ Social Commerce ก็เป็นวิธีที่ช่วยสร้างโอกาสให้คนรู้จักธุรกิจได้มากขึ้นได้
เพื่อให้การขายสินค้าออนไลน์ของคุณเป็นเรื่องง่าย “KGP” บริการรับชำระเงินผ่าน Meta Pay จะช่วยให้ลูกค้าสามารถชำระเงินได้สะดวก รวดเร็ว แค่ ช้อป แชต บน Facebook ก็สามารถคอนเฟิร์มออเดอร์และปิดการขายบน Messenger ได้ทันที นอกจากนี้ ยังรองรับการชำระเงินได้ทั้งบัตรเครดิต เดบิต หรือเงินโอนผ่านแอปพลิเคชันธนาคารต่าง ๆ เพื่อให้ไม่พลาด ในทุกโอกาสเพิ่มยอดขายให้กับธุรกิจของคุณ
KGP, Payment. Make It Smooth
LinkedIn : Kasikorn Global Payment
www.kasikornglobalpayment.com
อ้างอิง
- Alda M. (n.d.). E-Commerce. statista.com
ข่าวสารและกิจกรรมอื่น ๆ
ติดตาม KGP ผ่านโซเชียลมีเดีย