

โดนโกงออนไลน์ ทำอย่างไรถึงได้เงินคืน วิธีป้องกันมีอะไรบ้าง
โดนโกงออนไลน์ สิ่งที่ต้องรีบทำ คือ รวบรวมหลักฐานการโอนเงิน ติดต่อธนาคารเพื่ออายัดบัญชีชั่วคราว แล้วไปแจ้งความที่สถานีตำรวจว่าโดนหลอกโอนเงินภายใน 72 ชั่วโมง
“โดนโกงเงินออนไลน์” เป็นปัญหาที่ทั้งฝั่งลูกค้าและฝั่งเจ้าของธุรกิจควรจับตาเฝ้าระวังไว้ เพราะปัจจุบันมีผู้ถูกมิจฉาชีพออนไลน์ใช้กลโกงต่าง ๆ มาหลอกให้โอนเงิน หรือในฝั่งเจ้าของธุรกิจเองก็อาจโดนมิจฉาชีพหลอกด้วยสลิปปลอมที่เนียนจนแยกไม่ออก ในบทความนี้เราจะมาบอกสิ่งที่ต้องทำ เมื่อโดนโกงเงินออนไลน์ รวมถึงวิธีเช็กรายชื่อมิจฉาชีพโกงเงิน เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นเมื่อโดนโกง
สารบัญบทความ
- โดนโกงออนไลน์ ทำอย่างไรดี
- วิธีเช็กรายชื่อมิจฉาชีพที่โกงออนไลน์
- โดนโกงออนไลน์ แจ้งความเอาผิดมิจฉาชีพ ป้องกันธุรกิจเสียหาย
โดนโกงออนไลน์ ทำอย่างไรดี
ไม่ว่าจะเป็นลูกค้าหรือเจ้าของธุรกิจก็มีโอกาสโดนโกงออนไลน์เหมือนกัน มาดูวิธีแจ้งความเมื่อโดนโกงออนไลน์ ดังนี้
แจ้งความให้เร็วที่สุด
ถ้ารู้ตัวว่าโดนหลอกโอนเงิน ไม่ว่าจะโดนหลอกให้ลงทุนออนไลน์, หลอกให้ทำภารกิจโอนเงิน, โดนหลอกให้ขายของออนไลน์, ซื้อของออนไลน์แล้วโดนโกง หรือโดนลูกค้าปลอมสลิปโอนเงิน ให้รีบแจ้งความทันที
รวบรวมหลักฐานทั้งหมด
เมื่อโดนโกงเงินออนไลน์ให้รวบรวมหลักฐานต่าง ๆ เช่น สลิปปลอม แชตข้อความที่คุยกับมิจฉาชีพ ชื่อผู้ใช้งาน ที่อยู่จัดส่ง และหลักฐานอื่น ๆ ที่สามารถนำไประบุตัวมิจฉาชีพได้ทั้งหมด รวมถึงสำเนาบัตรประชาชนไปใช้แจ้งโดนโกงออนไลน์กับตำรวจ หากไม่สะดวกไปแจ้งความที่สถานี สามารถแจ้งความโกงเงินผ่านช่องทางออนไลน์ได้เช่นเดียวกัน
สำหรับเจ้าของธุรกิจหรือร้านค้าที่กังวลเรื่องสลิปปลอม สามารถป้องกันปัญหาสลิปปลอมได้ด้วยการเช็กยอดเงินเข้าผ่าน Mobile Banking
แจ้งความออนไลน์ที่เว็บ thaipoliceonline.com
หลังรวบรวมหลักฐานและเตรียมเอกสารที่ต้องใช้แจ้งความทั้งหมดแล้ว ให้รีบแจ้งความที่เว็บไซต์ thaipoliceonline.com ทันที โดยจะต้องลงทะเบียนใช้งานบนเว็บไซต์ก่อน แล้วกรอกรายละเอียดต่าง ๆ เช่น วันที่ เวลา แพลตฟอร์มที่ถูกโกง พร้อมแนบหลักฐานที่เตรียมไว้ก่อนกดยืนยันแจ้งความโดนโกงออนไลน์ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ดำเนินเรื่องต่อไป
หากมีการโอนเงิน ให้ติดต่อธนาคารเพื่อทำการอายัดบัญชี
ถ้าโดนมิจฉาชีพหลอกโอนเงินไปแล้ว ให้รีบติดต่อธนาคารปลายทางที่ทำธุรกรรมออนไลน์เพื่อทำเรื่องอายัดบัญชีมิจฉาชีพชั่วคราว ในระหว่างนั้นจะต้องแจ้งความกับตำรวจ โดยระบุว่า “ต้องการดำเนินคดีให้ถึงที่สุด” แล้วให้ตำรวจออกหมายสั่งอายัดบัญชีให้ธนาคารเพื่ออายัดบัญชีตามระยะเวลาที่กำหนด ถ้าเงินที่ถูกโกงออนไลน์ยังไม่ถูกถอนออกก็จะมีโอกาสได้เงินคืนกลับมาสูง
ปกติแล้วธนาคารสามารถอายัดบัญชีโดยไม่มีหมายศาลได้ 7 วันนับตั้งแต่วันที่แจ้งเรื่องโดนหลอกให้โอนเงิน ถ้าผ่านไป 7 วันแล้ว แต่ไม่มีหมายสั่งอายัดบัญชี ธนาคารก็จะยกเลิกการอายัดบัญชีทันที แต่ถ้าพบความผิดจริงก็จะดำเนินการตามกระบวนการกฎหมายต่อไป
ไม่ควรหลงเชื่อข้ออ้างมิจฉาชีพ
กรณีที่มิจฉาชีพหาข้ออ้างต่าง ๆ เช่น โดนคนอื่นหลอกเอาบัญชีมาใช้เป็นบัญชีม้า กำลังหมุนเงินหาเงินคืนอยู่ อย่าชะล่าใจ เพราะกฎหมายไทยตั้งอายุความร้องทุกข์ไม่เกิน 3 เดือนนับตั้งแต่วันที่รู้ตัวว่าโดนหลอก ถ้าหลงใจอ่อนเชื่อมิจฉาชีพ ก็อาจจะหมดอายุความ จนไม่สามารถเอาฟ้องเอาผิดกับมิจฉาชีพได้
ทั้งนี้ถ้ามีผู้เสียหายโดนหลอกโอนเงินหลายคน ให้รวมตัวไปแจ้งความหรือไปกองปราบปรามอย่างน้อย 5-6 คน เพราะจะกลายเป็นคดีฉ้อโกงประชาชน ทำให้มิจฉาชีพได้รับโทษหนักขึ้น
วิธีเช็กรายชื่อมิจฉาชีพที่โกงออนไลน์
การป้องกันไม่ให้โดนโกงออนไลน์ ต้องรู้ทันมิจฉาชีพ ด้วยการเช็กรายชื่อก่อนทำธุรกรรมทางการเงิน ซึ่งมีวิธีเช็กรายชื่อมิจฉาชีพ 2 วิธีด้วยกัน ดังนี้
- เช็กรายชื่อมิจฉาชีพหลอกให้โอนเงินผ่าน Google
1. เข้าเว็บไซต์ google.com
2. พิมพ์ชื่อ-นามสกุล เลขบัญชี หรือเบอร์โทรศัพท์ตรงช่องค้นหา
3. กด ค้นหา ถ้ามีประวัติแจ้งการหลอกลวงทางออนไลน์ หรือเคยออกข่าวมิจฉาชีพหลอกโอนเงิน ก็จะขึ้นข้อมูลทันที
- เช็กรายชื่อมิจฉาชีพหลอกโอนเงินผ่านเว็บไซต์ Blacklistseller
1. เข้าเว็บไซต์ blacklistseller.com
2. คลิกตรวจสอบบัญชี/ผู้ขาย
3. กรอกข้อมูลต่าง ๆ เช่น เลขบัญชี ชื่อ-นามสกุล
4. กด “ค้นหา” ถ้าบัญชีที่จะโอนเป็นมิจฉาชีพก็จะขึ้นประวัติการโกงเงินทันที
โดนโกงออนไลน์ แจ้งความเอาผิดมิจฉาชีพ ป้องกันธุรกิจเสียหาย
การโดนโกงออนไลน์ เป็นภัยที่เกิดขึ้นได้กับทั้งธุรกิจร้านค้าหรือลูกค้า เพราะมิจฉาชีพจะใช้กลโกงต่าง ๆ หลอกล่อจนถูกหลอกให้โอนเงิน ในบางครั้งมิจฉาชีพก็แฝงตัวเป็นลูกค้าส่งสลิปปลอมให้ อย่างไรก็ตาม แม้ระวังมากแค่ไหนก็มีโอกาสโดนมิจฉาชีพหลอกได้ ถึงจะเกิดเพียงครั้งเดียวแต่ก็ส่งผลกระทบต่อยอดขายออนไลน์ เพราะลูกค้าสูญเสียความมั่นใจในการซื้อของหรือใช้บริการกับร้านค้าผ่านช่องทางออนไลน์
เพื่อเสริมสร้างความน่าเชื่อถือและลดความเสี่ยงจากการถูกโกง KGP ขอเสนอโซลูชันการรับชำระเงินหลายช่องทาง ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับร้านค้าและลูกค้า ให้สามารถชำระเงินได้อย่างง่ายดาย ปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็น Meta Pay, QR Payment, Mobile Banking, บัตรเครดิต/เดบิต, Payment link, E-Wallet จาก TrueMoney Wallet, และ ODD (Online Direct Debit) หักบัญชีอัตโนมัติ เพื่อเสริมสร้างความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจในระยะยาว
KGP, Payment. Make It Smooth.
LinkedIn : Kasikorn Global Payment
อ้างอิง
1. เมื่อถูกโกงแต่จ่ายเงินไปแล้วต้องทำอย่างไร. (เมษายน 30, 2567). สำนักงานกิจการยุติธรรม. https://justicechannel.org/read/law-in-topic/lawget-laboo
ข่าวสารและกิจกรรมอื่น ๆ
ติดตาม KGP ผ่านโซเชียลมีเดีย