Business Model คืออะไร? เข็มทิศสู่ความสำเร็จของ SMEBusiness Model คืออะไร? เข็มทิศสู่ความสำเร็จของ SME
บทความ

Business Model คืออะไร? เข็มทิศสู่ความสำเร็จของ SME

9 ก.ค. 68

Business Model คือแนวคิดสำคัญที่ช่วยให้เข้าใจภาพรวมธุรกิจ และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ได้ดี หากรู้จักรูปแบบและเลือกใช้โมเดลอย่างเหมาะสมจะส่งเสริมให้ธุรกิจเติบโตเร็ว

Business Model คือหัวใจหลักของการทำธุรกิจในยุคที่การซื้อขายแข่งขันกันอย่างเข้มข้น โดยเฉพาะในโลกของ B2B ที่ต้องพิจารณาหลายมิติ ทั้งต้นทุน ความคุ้มค่า ระยะเวลา หรือความสัมพันธ์ระยะยาว การทำความเข้าใจเกี่ยวกับ Business Model จึงเปรียบเสมือนการมีแผนที่นำทางที่ชัดเจน ช่วยให้ทุกคนในองค์กรเห็นภาพรวมของธุรกิจไปในทิศทางเดียวกัน 

ในบทความนี้จะพาไปดูตัวอย่างโมเดลที่จะช่วยให้นักธุรกิจมือใหม่เข้าใจขั้นตอนการวางแผนทำธุรกิจ และสามารถสร้างยอดขายให้เติบโตได้ในทุกสถานการณ์ เพื่อก้าวสู่การเป็นผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน 


สารบัญบทความ


Business Model คืออะไร บทบาทสำคัญที่ผลักดันให้ธุรกิจเติบโต

Business Model คือแผนภาพหรือแนวคิดที่อธิบายภาพรวมของธุรกิจว่า ธุรกิจโมเดลหนึ่ง ๆ จะสร้างรายได้อย่างไร สร้างคุณค่าให้ใคร ใช้ทรัพยากรอะไรบ้าง และจะเชื่อมโยงการดำเนินการทั้งหมดเข้าด้วยกันอย่างไร โดยก่อนจะคิดวางแผนธุรกิจอย่างจริงจัง ควรเริ่มต้นจากการทำ Business Model ให้เห็นภาพรวมก่อนเป็นสิ่งสำคัญ เพราะหากเข้าใจถึงจุดมุ่งหมายหลักของธุรกิจ ก็จะสามารถต่อยอดไปยังการสร้างกลยุทธ์ต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น 

Business Model จึงมีบทบาทสำคัญในการผลักดันธุรกิจให้เติบโต เพราะจะช่วยให้ผู้ประกอบการมองเห็นภาพกว้างของทุก ๆ กระบวนการ ตั้งแต่การพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการ การกำหนดช่องทางขาย การสร้างคุณค่าที่ลูกค้าต้องการ การวางโครงสร้างต้นทุน ไปจนถึงการจัดการกับหุ้นส่วนทางธุรกิจได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ 


Business Model ในรูปแบบต่าง ๆ

โมเดลธุรกิจ

เพื่อช่วยให้เจ้าของธุรกิจ SME เข้าใจถึงแนวทางการสร้างรายได้ที่หลากหลาย เราได้คัดเลือกตัวอย่าง Business Model ที่พบเห็นได้บ่อย เพื่อเห็นภาพความแตกต่างและรู้ว่า Business Model มีอะไรบ้างในยุคปัจจุบัน 

1. ธุรกิจแบบสมัครสมาชิก (Subscription Model) 

แต่ละ Business Model จะมีโครงสร้างการสร้างรายได้ที่แตกต่างกัน โมเดลลักษณะนี้จะสร้างรายได้อย่างต่อเนื่องผ่านระบบการสมัครสมาชิกรายเดือนหรือรายปี ซึ่งเหมาะสำหรับธุรกิจออนไลน์ที่เกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ หรือแพลตฟอร์มที่ลูกค้ามีการใช้บริการเป็นประจำ เช่น Netflix หรือ Spotify 

2. ธุรกิจที่เกิดจากกลุ่มคนจำนวนมาก (Crowdsourcing Model) 

ธุรกิจที่อาศัยกลุ่มคนนอกองค์กรมาร่วมกันสร้าง หรือมีส่วนร่วมในผลิตภัณฑ์ใดผลิตภัณฑ์หนึ่ง ที่ซึ่งทุกคนสามารถมีส่วนร่วมกับเนื้อหา ช่วยให้เกิดการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ได้โดยไม่ต้องใช้ทรัพยากรภายในองค์กรทั้งหมด โมเดลธุรกิจตัวอย่าง เช่น Wikipedia

3. ธุรกิจให้ฟรีในช่วงแรก (Freemium Model) 

เป็นธุรกิจที่นิยมในกลุ่มอุตสาหกรรมดิจิทัล เช่น Google Workspace หรือ Dropbox โดยเจ้าของธุรกิจจะวาง Business Model ให้ลูกค้าได้ทดลองใช้ฟีเจอร์พื้นฐานฟรีในช่วงแรก จากนั้นจะมีการเก็บค่าบริการเพิ่มเติมสำหรับฟีเจอร์พิเศษหรือการใช้งานต่อเนื่อง 

4. ธุรกิจซื้อ 1 มอบให้ 1 (One-for-one Model) 

อีกหนึ่งโมเดลที่รวมการขายสินค้าเข้ากับการสร้างคุณค่าให้แก่สังคม โดยตั้งเงื่อนไขขึ้นมาว่าสินค้าที่ธุรกิจขายได้จะมีการแบ่งคืนกลับสู่สังคมด้วย แบบจําลองธุรกิจตัวอย่างเช่น หากลูกค้าซื้อแว่นตา 1 อัน ธุรกิจก็จะบริจาคแว่นตาให้แก่ผู้ยากไร้ 1 อันเช่นกัน ถือเป็น Business Model ที่ช่วยสร้างภาพลักษณ์เชิงบวกให้แก่แบรนด์ได้เป็นอย่างดี

5. ธุรกิจเปลี่ยนผลิตภัณฑ์เป็นการบริการ (Product to Service Model) 

หลายธุรกิจปรับเปลี่ยนจากการขายขาดสินค้าเป็นการให้บริการที่ทำเงินได้อย่างต่อเนื่อง เช่น เปลี่ยนจากการขายเครื่องถ่ายเอกสาร เป็นการให้เช่าเครื่องพร้อมบริการเปลี่ยนหมึกและซ่อมแซมรายปี ซึ่งช่วยให้ลูกค้าไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นหลังการซื้อเครื่อง และถือเป็นธุรกิจที่น่าสนใจเพราะช่วยสร้างรายได้ที่สม่ำเสมอให้กับธุรกิจ 

6. ธุรกิจสร้างดีลพิเศษ (Bundling Model) 

Business Model นี้คือการรวมสินค้าหรือบริการหลายรายการเข้าด้วยกันเพื่อขายเป็นแพ็กเกจ เช่น การซื้อโทรศัพท์พร้อมแพ็กเกจอินเทอร์เน็ต โมเดลนี้จะช่วยเพิ่มมูลค่าต่อการขายในแต่ละครั้ง และกระตุ้นให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น เนื่องจากการซื้อแบบดีลพิเศษมีความคุ้มค่ามากกว่าการซื้อแยก 

7. ธุรกิจให้เช่า (Leasing Model) 

ปัจจุบันผู้บริโภคให้ความสำคัญกับความยืดหยุ่นในการใช้งานมากกว่าความต้องการเป็นเจ้าของ ทำให้ธุรกิจให้เช่าเติบโตในหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น เครื่องจักร รถยนต์ หรือบ้าน ซึ่ง Business Model นี้มีส่วนช่วยให้ลูกค้าเข้าถึงสินค้าที่มีราคาสูงได้โดยไม่ต้องลงทุนก้อนใหญ่ 

8. ธุรกิจแบบใบมีดโกน (Razor Blades Model) 

ธุรกิจแบบใบมีดโกน คือการขายสินค้าหลักในราคาถูก แต่สร้างรายได้จากการขายอุปกรณ์เสริมที่จำเป็นต้องใช้คู่กันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งถือเป็นหนึ่งใน Business Model ที่แยบยล ตัวอย่างธุรกิจเช่น เครื่องพิมพ์กับหมึกพิมพ์ หรือเครื่องชงกาแฟกับแคปซูลกาแฟ

9. ธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise Model) 

Business Model นีได้รับความนิยมอย่างสูงในประเทศไทย เพราะเปิดโอกาสให้คนมาลงทุนในแบรนด์ และได้สิทธิในการใช้ชื่อแบรนด์ พร้อมทั้งได้รับการอบรมจากผู้ที่มีประสบการณ์โดยไม่ต้องลองผิดลองถูกเอง แต่สามารถควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ และรู้จักการทำงานอย่างเป็นระบบ ตัวอย่างโมเดลเช่น 7-Eleven หรือ Cafe Amazon 

10. ธุรกิจค้าปลีก (Retailer Model)

ธุรกิจค้าปลีก คือการที่ผู้ซื้อซื้อสินค้าจากผู้ผลิตแล้วนำมาขายต่อ ตัวอย่างโมเดลธุรกิจเช่น ร้านสะดวกซื้อ ห้างสรรพสินค้า รวมถึง  E-Commerce อย่าง Shopee หรือ Lazada เหมาะมากสำหรับผู้ที่มีความสามารถด้านการมองหาช่องทางจัดจำหน่าย การตลาดออนไลน์ และโลจิสติกส์

11. ธุรกิจที่การกระจายสินค้า (Distribution Model) 

Business Model ที่เน้นการเป็นตัวกลางเพื่อนำสินค้าจากผู้ผลิตไปสู่ผู้ค้าปลีกหรือผู้ใช้งาน เช่น การเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าอุตสาหกรรมหรือสินค้าเกษตร ทั้งนี้ ผู้ประกอบการบางรายอาจทำธุรกิจเกี่ยวกับคลังสินค้าและบริการจัดส่งสินค้าควบคู่ไปด้วยกัน 

12. ธุรกิจที่เป็นโรงงานผลิต (Manufacturer Model) 

Business Model ตัวอย่างสุดท้ายคือ ธุรกิจที่เป็นโรงงานผลิต ซึ่งจะผลิตสินค้าแล้วขายตรงให้ลูกค้าหรือขายผ่านพาร์ตเนอร์ ทำให้โมเดลนี้สามารถควบคุมคุณภาพและต้นทุนการผลิตได้ดี แต่ก็ต้องมีความชำนาญ หรือรู้จักเทคโนโลยีเฉพาะที่เหมาะกับแต่ละอุตสาหกรรมด้วย 


Business Model Canvas มีอะไรบ้าง

Business Model คือ

Business Model Canvas คือเครื่องมือสำคัญที่ใช้อธิบาย 9 องค์ประกอบหลักของการทำธุรกิจ การเขียน Business Model Canvas ช่วยให้มองเห็นภาพรวมของธุรกิจได้รอบด้าน โดยมีรายละเอียดดังนี้ 

  • Customer Segments หรือกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ทุก ๆ ประเภทธุรกิจควรกำหนดกลุ่มลูกค้าของตัวเองให้ชัดเจน เพื่อให้สามารถออกแบบผลิตภัณฑ์ บริการ และกลยุทธ์การสื่อสารที่ตรงกับเป้าหมายได้มากที่สุด 
  • Value Propositions หรือคุณค่าที่ธุรกิจต้องการส่งมอบให้ลูกค้า ผู้ประกอบการต้องตอบให้ได้ว่ามีเหตุผลอะไรบ้างที่ทำให้ลูกค้าเลือกใช้สินค้า หรือบริการจากเรา เช่น คุณภาพดี มีความคุ้มค่า บริการรวดเร็ว หรือช่วยแก้ปัญหาได้ตรงจุด
  • Channels หรือช่องทางการจัดจำหน่าย ธุรกิจควรกำหนดช่องทางการขายใน Business Model Canvas ที่ชัดเจน และแต่ละช่องทางต้องสอดคล้องกับพฤติกรรมของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพการขายสูงสุด 
  • Customer Relationships หรือการบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า การรักษาความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างลูกค้ากับแบรนด์ จะช่วยสร้างประสบการณ์ที่ดี เพิ่มความไว้วางใจ และเพิ่มโอกาสในการซื้อซ้ำได้ 
  • Revenue Streams หรือแหล่งรายได้ ธุรกิจจะไปต่อไม่ได้หากขาดรายได้ ดังนั้น องค์ประกอบของ Business Model Canvas ข้อนี้จึงสำคัญมาก ซึ่งควรกำหนดให้ชัดเจนว่าจะสร้างรายได้จากช่องทางใด เช่น การขายสินค้า การเก็บค่าสมาชิก หรือการคิดค่าธรรมเนียมการบริการ
  • Key Resources หรือทรัพยากรหลัก เช่น บุคลากร เทคโนโลยี เงินทุน หรือสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา สิ่งเหล่านี้เป็นทรัพยากรที่ทุกโมเดลธุรกิจต้องมี เพื่อให้การขายและการบริการสามารถเดินหน้าต่อได้
  • Key Activities หรือกิจกรรมหลักของธุรกิจ เช่น การผลิต การจัดส่ง หรือการวิจัยพัฒนา กิจกรรมเหล่านี้จะส่งผลต่อความสามารถในการให้บริการและการสร้างคุณค่าให้แก่ลูกค้า ซึ่งต้องทำกิจกรรมหลักอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ 
  • Key Partners หรือพาร์ตเนอร์หลัก การมีพันธมิตรที่ดีจะช่วยให้ธุรกิจส่วนตัวเติบโต มีส่วนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้ 
  • Cost Structure หรือโครงสร้างต้นทุน เช่น ต้นทุนสินค้า ค่าแรง ค่าการตลาด หรือค่าระบบ IT ค่าใช้จ่ายเหล่านี้ล้วนเป็นส่วนสำคัญในการวางแผนทางการเงิน ซึ่งการเข้าใจโครงสร้างต้นทุนจะช่วยให้สามารถตั้งราคาขายได้อย่างเหมาะสม 

Business Model เครื่องมือที่ช่วยปั้นธุรกิจให้เติบโต

ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจเล็ก ธุรกิจใหญ่ หรือผู้ประกอบการ SME ล้วนแต่ต้องการสร้างผลกำไรและเติบโตอย่างยั่งยืน การมี Business Model ที่ชัดเจน จึงเป็นรากฐานสำคัญญที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการเข้าใจความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย นำไปสู่การวางแผนกระบวนการผลิต และควบคุมต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

KGP พร้อมเป็นพาร์ตเนอร์ที่สนับสนุนทุกโมเดลธุรกิจด้วยระบบชำระเงินออนไลน์ที่ครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นบริการรับชำระเงินออนไลน์ เช่น Meta Pay, QR Payment, Mobile Banking, บัตรเครดิต/เดบิต, Payment link, E-Wallet จาก TrueMoney Wallet, บริการหักบัญชีอัตโนมัติ (Online Direct Debit) รวมถึงบริการสรุปยอดเงินและโอนไปยังบัญชีที่เกี่ยวข้อง (Payouts & Settlement) บริการเหล่านี้จะช่วยให้กระบวนการรับชำระเงินและการจัดการธุรกรรมการเงินง่ายขึ้น สะดวก ปลอดภัย และตอบโจทย์ทุกประเภทธุรกิจอย่างแท้จริง

KGP, Payment. Make It Smooth.

FB : kgpthailand

LinkedIn : Kasikorn Global Payment

www.kasikornglobalpayment.com

ข่าวสารและกิจกรรมอื่น ๆ

ติดตาม KGP ผ่านโซเชียลมีเดีย