ภัยคุกคามทางไซเบอร์คืออะไร มีกี่แบบ รู้เท่าทันก่อนตกเป็นเหยื่อภัยคุกคามทางไซเบอร์คืออะไร มีกี่แบบ รู้เท่าทันก่อนตกเป็นเหยื่อ
บทความ

ภัยคุกคามทางไซเบอร์คืออะไร มีกี่แบบ รู้เท่าทันก่อนตกเป็นเหยื่อ

4 ก.ค. 68

ภัยคุกคามทางไซเบอร์ คือ การโจมตี หรือละเมิดข้อมูลผ่านระบบสารสนเทศและเครือข่าย ส่งผลต่อความปลอดภัยทางข้อมูลของธุรกิจทุกระดับ จำเป็นต้องรู้เท่าทันก่อนภัยมา

ในยุคที่การซื้อ-ขายออนไลน์เติบโตอย่างรวดเร็ว ภัยคุกคามทางไซเบอร์ ได้กลายเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ทุกคนต้องตระหนักถึง การถูกโจมตีทางไซเบอร์เพียงครั้งเดียว ไม่ว่าจะเป็นการถูกขโมยข้อมูลหรือเจาะระบบ ก็อาจทำให้ธุรกิจเสียหายทั้งชื่อเสียงและรายได้ ดังนั้น การทำความเข้าใจและหาวิธีรับมือกับภัยไซเบอร์เหล่านี้ จึงไม่ใช่แค่หน้าที่ของฝ่ายไอทีอีกต่อไป แต่เป็นความจำเป็นที่เจ้าของธุรกิจต้องให้ความสำคัญและจัดการอย่างจริงจัง เพื่อป้องกันไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของการโจมตีทางไซเบอร์ 


สารบัญบทความ


ภัยคุกคามทางไซเบอร์คืออะไร ทำไมถึงควรให้ความสำคัญ

ภัยคุกคามทางไซเบอร์ หรือการโจมตีทางไซเบอร์ (Cyber Attack) คือ การกระทำหรือการดำเนินการใด ๆ ที่เกิดขึ้นผ่านการใช้ระบบสารสนเทศหรือเครือข่าย1 โดยมีเป้าหมายเพื่อรบกวน, ขโมย, ทำลาย หรือเข้าถึงข้อมูลดิจิทัลโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งอาจสร้างความเสียหายร้ายแรงต่อข้อมูลสำคัญขององค์กร เช่น ฐานข้อมูลลูกค้าหรือข้อมูลธุรกรรม ภัยคุกคามเหล่านี้มีหลากหลายรูปแบบ เช่น การแฮก, มัลแวร์, หรือฟิชชิง โดยเป้าหมายหลักของผู้ไม่หวังดีมักจะเป็นข้อมูลส่วนตัว, เงิน หรือผลประโยชน์ทางธุรกิจ ซึ่งอาจนำไปสู่การหลอกโอนเงินผ่านบัญชีม้าที่ไม่สามารถติดตามตัวผู้กระทำผิดได้โดยตรง ผลกระทบที่เกิดขึ้นไม่เพียงแต่ส่งผลเสียต่อตัวบุคคลซึ่งก็คือลูกค้าผู้เสียหายเท่านั้น แต่ยังกระทบถึงภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือขององค์กรหรือธุรกิจในระยะยาวอีกด้วย


ตัวอย่างของภัยคุกคามทางไซเบอร์

ภัยทางไซเบอร์

ภัยไซเบอร์มีหลากหลายรูปแบบซึ่งแต่ละรูปแบบจะมีวิธีโจมตีที่แตกต่างกันไป การทำความเข้าใจลักษณะของภัยจากไซเบอร์แต่ละประเภทจะช่วยให้สามารถวางแนวทางป้องกันการโดนโกงออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มาดูกันว่าปัจจุบันภัยคุกคามทางไซเบอร์มีอะไรบ้าง

1. ฟิชชิ่ง (Phishing) 

ฟิชชิ่ง (Phishing) เป็นภัยไซเบอร์ที่กำลังแพร่ระบาดอย่างหนักในปัจจุบัน เป็นการโจมตีโดยใช้การหลอกลวงผ่านอีเมล ข้อความ SMS หรือเว็บไซต์ปลอม เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลต่าง ๆ เช่น ชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน วันเดือนปีเกิด ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ข้อมูลบัญชีธนาคาร เป็นต้น จากนั้นนำข้อมูลที่ได้ไปขายให้กับกลุ่มผู้ไม่หวังดี หรือหลอกล่อให้เหยื่อกดลิงก์เพื่อแอบติดตั้งมัลแวร์ลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ 

2. มัลแวร์ (Malware) 

มัลแวร์ (Malware) คือภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่พบได้บ่อยเป็นอันดับต้น ๆ ซึ่งมัลแวร์หรือ Malicious Software เป็นโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อมุ่งร้ายต่อคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่าย โดยมีเป้าหมายเพื่อแทรกแซง ทำลาย หรือเข้าถึงข้อมูลในอุปกรณ์ของเหยื่อโดยไม่ได้รับอนุญาต และก่อให้เกิดผลลัพธ์ไม่พึงประสงค์กับผู้ใช้งานหรือระบบ เช่น ขโมยข้อมูล ทำให้ระบบขัดข้องหรือใช้งานไม่ได้ แพร่กระจายผ่านไฟล์แนบ อีเมล หรือเว็บไซต์ที่ไม่ปลอดภัย 

3. บอท (Bot)

บอท (Bot) คือซอฟต์แวร์ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้ทำหน้าที่ใดหน้าที่หนึ่งโดยอัตโนมัติ โดยรับคำสั่งและควบคุมจากแฮกเกอร์หรือผู้ไม่หวังดีบนอินเทอร์เน็ต เมื่อถูกควบคุมโดยผู้ไม่หวังดี เพื่อใช้ส่งสแปมหรือขุดข้อมูล

4. แรนซัมแวร์ (Ransomware)

แรนซัมแวร์ (Ransomware) คือมัลแวร์ที่ผู้พัฒนาออกแบบเพื่อล็อกไฟล์หรือระบบของเหยื่อ แล้วทำการเรียกค่าไถ่เพื่อปลดล็อก ส่งผลให้เหยื่อไม่สามารถเข้าถึงไฟล์หรือข้อมูลของตัวเองได้จนกว่าจะยอมจ่ายเงิน แม้จะจ่ายเงินไปแล้วก็ไม่มีการับประกันว่าจะได้ข้อมูลคืนหรือปลดล็อกไฟล์ให้จริง ๆ โดยแฮกเกอร์ที่พัฒนาแรนซัมแวร์มักจะเรียกค่าไถ่เป็นเงินสกุลดิจิทัล เช่น บิตคอยน์ เพื่อให้ยากต่อการตรวจสอบ และติดตาม 

5. โทรจัน (Trojan) 

โทรจัน (Trojan) เป็นรูปแบบภัยคุกคามทางคอมพิวเตอร์ที่ตกเป็นเหยื่อได้ง่ายเพราะเป็นมัลแวร์ที่แฝงตัวมาในรูปแบบของโปรแกรมใช้งาน หรือไฟล์ข้อมูลที่ดูเหมือนปลอดภัย แต่ภายในกลับแฝงคำสั่งอันตราย เช่น คำสั่งลบข้อมูล เขียนทับข้อมูล หรือเปิดช่องทางให้แฮกเกอร์สามารถควบคุมจากระยะไกลได้ เป็นต้น

6. ไวรัส (Virus) 

ไวรัส (Virus) ถือเป็นภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่มีมานาน มักจะแฝงตัวมากับไฟล์ หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เมื่อเหยื่อเปิดไฟล์ หรือติดตั้งโปรแกรมที่ติดไวรัส ตัวไวรัสจะแพร่กระจายเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ทันที หน้าที่ของไวรัสจะเป็นการก่อกวนหรือสร้างความรำคาญ เช่น ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานผิดปกติหรือทำงานช้าลง นอกจากนี้ก็มีไวรัสหลายตัวที่มีความสามารถในการลบหรือทำลายไฟล์ได้อีกด้วย 

7. เวิร์ม (Worm) 

เวิร์ม (Worm) เป็นภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่มีการทำงานคล้ายไวรัส ต่างกันตรงที่เวิร์มสามารถแพร่กระจายตัวเองไปยังอุปกรณ์อื่น ๆ ได้ผ่านระบบเครือข่าย เช่น อีเมล หรือการแชร์ไฟล์ โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาไฟล์พาหะหรือโฮสต์ (Host) ทำให้สามารถแพร่กระจายได้รวดเร็วและกว้างขวางมากกว่าไวรัส 

8. สปายแวร์ Spyware 

สปายแวร์ (Spyware) เป็นอีกหนึ่งภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่พบได้บ่อย ทำหน้าที่เป็นโปรแกรมที่คอยแอบเก็บข้อมูลและดูพฤติกรรมการใช้งานของเหยื่อ และอาจขโมยข้อมูลส่วนตัวของเหยื่อ เช่น ชื่อบัญชีผู้ใช้ รหัสผ่าน ข้อมูลบัตรเครดิต หรือธุรกรรมทางการเงิน เป็นต้น พร้อมกับส่งข้อมูลไปยังเครื่องของแฮกเกอร์หรือผู้ควบคุม สปายแวร์จะถูกติดตั้งลงในเครื่องโดยไม่มีการยินยอม ถือเป็นการโจมตีทางไซเบอร์ที่แยบยลและอันตราย เพราะหากไม่มีการป้องกันเหยื่อจะไม่รู้ตัวได้เลยว่าถูกโจมตี


วิธีป้องกันตัวจากภัยคุกคามทางไซเบอร์

ภัยจากไซเบอร์

ภัยคุกคามทางไซเบอร์ไม่ใช่เรื่องของผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีเท่านั้นแต่เป็นหน้าที่ของทุกคน โดยเฉพาะเจ้าของธุรกิจที่ต้องดูแลข้อมูลต่าง ๆ ของลูกค้า การรู้จักว่าภัยคุกคามทางไซเบอร์คืออะไรและรู้แนวทางพื้นฐานในการป้องกันจะช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับระบบได้มากขึ้น 

  • ใช้รหัสผ่านที่คาดเดายาก สำหรับทุกบัญชีผู้ใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรม หรือการเข้าใช้งานแพลตฟอร์มใด ๆ ก็ตาม ควรตั้งรหัสผ่านให้มีความยาวและซับซ้อน และผสมผสานทั้งตัวอักษร ตัวเลข และอักขระพิเศษ หลีกเลี่ยงการใช้ข้อมูลส่วนตัว เช่น วันเกิดหรือชื่อ 
  • อัปเดตซอฟต์แวร์สม่ำเสมอ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าระบบปฏิบัติการ โปรแกรม และแอปพลิเคชัน ได้รับอัปเดตอยู่เสมอ เพื่อเป็นการเสริมความปลอดภัยและปิดช่องโหว่ที่แฮกเกอร์อาจใช้โจมตี 
  • อย่าคลิกลิงก์หรือไฟล์แนบจากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ อีเมลหรือข้อความปลอมจะใช้ลิงก์ หรือไฟล์แนบที่ฝังมัลแวร์ ดังนั้น ควรตรวจสอบที่มาให้แน่ใจก่อนคลิก 
  • ใช้ระบบยืนยันตัวตนแบบสองขั้นตอน Two-factor authentication(2FA) เพิ่มความปลอดภัยในการเข้าระบบด้วยการยืนยันตัวตนผ่านรหัส OTP หรือแอปพลิเคชันยืนยันตัวตน 
  • ติดตั้งและอัปเดตโปรแกรมป้องกันไวรัส เลือกใช้ซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสที่มีคุณภาพจากแบรนด์ที่น่าเชื่อถือ เพื่อช่วยตรวจจับและป้องกัน Cyber Attack ต่าง ๆ เช่น มัลแวร์ สปายแวร์ รวมถึงภัยไซเบอร์อื่น ๆ ที่อาจแฝงตัวเข้ามาเพื่อในระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่าย 
  • แยกอุปกรณ์สำหรับใช้งานส่วนตัวและงานธุรกิจ เพื่อป้องกันไม่ให้ข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหลไปยังระบบงาน หรือในทางกลับกันหากระบบใดระบบหนึ่งถูกโจมตี 
  • ตรวจสอบบัญชีธุรกรรมเป็นประจำ หมั่นตรวจสอบความเคลื่อนไหวทางการเงินอยู่เสมอ อาทิ ระบบโอนเงินผ่านพร้อมเพย์ QR, ระบบหักบัญชีอัตโนมัติ, และรวมถึงช่องทางการชำระเงินต่าง ๆ เพื่อให้รู้ทันความผิดปกติและตรวจสอบได้อย่างทันเวลา
  • อบรมพนักงานให้รู้ทันภัยไซเบอร์ การให้ความรู้เรื่องการโจมตีทางไซเบอร์ว่ามีอะไรบ้างแก่ทีมงาน จะช่วยลดโอกาสการถูกหลอก หรือทำผิดพลาดที่นำไปสู่การรั่วไหลของข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังเป็นวิธีป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ให้กับองค์กรหรือธุรกิจได้อย่างยั่งยืน

ปิดช่องโหว่ทางธุรกิจ ด้วยความเข้าใจภัยคุกคามทางไซเบอร์ 

ภัยคุกคามทางไซเบอร์ไม่ใช่เรื่องไกลตัวสำหรับเจ้าของธุรกิจหรือผู้ประกอบการอีกต่อไป โดยเฉพาะในยุคที่การซื้อ-ขายออนไลน์เติบโตอย่างรวดเร็ว โอกาสที่จะถูกโกง ปลอมแปลงบัญชี หรือการขโมยข้อมูลลูกค้าสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ความเข้าใจในภัยไซเบอร์รูปแบบต่าง ๆ และวิธีป้องกันจึงเป็นเกราะป้องกันสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจเดินหน้าต่อได้อย่างปลอดภัยและยั่งยืน 

เพื่อเสริมสร้างความมั่นใจให้ลูกค้าของคุณ KGP พร้อมเป็นพันธมิตรที่เชื่อถือได้ด้านบริการรับชำระเงินออนไลน์ ซี่งได้รับความไว้วางใจจากทั้งธุรกิจในประเทศไทยและแพลตฟอร์มระดับโลก ด้วยระบบที่ปลอดภัยและยืดหยุ่น รองรับช่องทางชำระเงินที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น Meta PayQR Payment, Mobile Banking, บัตรเครดิต/เดบิต, Payment Link, E-Wallet จาก TrueMoney Wallet และบริการหักบัญชีอัตโนมัติ (Online Direct Debit) ช่วยให้การรับเงินเป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว สร้างความน่าเชื่อถือให้กับทุกธุรกิจในทุกการซื้อ-ขาย ช่วยยกระดับประสบการณ์การรับชำระเงิน และเพิ่มโอกาสเติบโตอย่างมั่นคงในโลกดิจิทัล 

KGP, Payment. Make It Smooth.

FB : kgpthailand

LinkedIn : Kasikorn Global Payment

www.kasikornglobalpayment.com


อ้างอิง

ทำความรู้จักกับภัยคุกคามไซเบอร์. (ม.ป.ป.). สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์. https://www.sec.or.th/TH/Pages/CYBERRESILIENCE-KNOWLEDGECYBER.aspx

ข่าวสารและกิจกรรมอื่น ๆ

ติดตาม KGP ผ่านโซเชียลมีเดีย