e-Receipt คืออะไร? มาตรการลดหย่อนภาษีในปี 2568 ที่ต้องรู้e-Receipt คืออะไร? มาตรการลดหย่อนภาษีในปี 2568 ที่ต้องรู้
บทความ

e-Receipt คืออะไร? มาตรการลดหย่อนภาษีในปี 2568 ที่ต้องรู้

4 ก.ค. 68

e-Receipt มาตรการลดหย่อนภาษีในปี 2568 โดยกรมสรรพากรกำหนดคุณสมบัติของผู้ขายที่เข้าร่วมโครงการ ต้องตรวจสอบรายชื่อผู้ขายก่อนซื้อสินค้า เพื่อใช้สิทธิ์ลดหย่อน

e-Receipt มาตรการทางเศรษฐกิจของภาครัฐที่ธุรกิจออนไลน์พูดถึงกันอย่างมาก เพราะช่วยกระตุ้นยอดขาย รวมทั้งช่วยให้ผู้บริโภคสามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้ อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ประกอบการที่เพิ่งเริ่มต้นในธุรกิจออนไลน์อาจจะยังไม่คุ้นเคยว่า e-Receipt คืออะไร และวิธีการเช็ก e-Tax Invoice บนระบบของกรมสรรพากรต้องทำอย่างไรบ้าง มาหาคำตอบพร้อมกันได้ในบทความนี้ 


สารบัญบทความ


e-Receipt คืออะไร ทำไมผู้ขายออนไลน์ต้องรู้

โครงการ Easy e-Receipt คือ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ภาครัฐจัดขึ้น เพื่อให้ผู้ซื้อสินค้าและบริการสามารถหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสูงสุด 50,000 บาท โดยนำใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) ของร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการมาใช้เป็นหลักฐานในการยื่นลดหย่อน ซึ่งใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ที่นำมาใช้ในการลดหย่อนได้ จะต้องออกระหว่างวันที่ 16 มกราคม - 28 กุมภาพันธ์ 2568 ตามเงื่อนไขที่มาตรการกำหนด 

โดยข้อปฏิบัติที่ผู้ประกอบกิจการ SME ควรรู้ เพื่อให้ผู้ซื้อสามารถนำใบ e-Tax ของร้านค้าไปใช้ลดหย่อนภาษีได้ มีดังต่อไปนี้ 

1. ผู้ประกอบกิจการต้องนำส่งข้อมูลการซื้อขายของลูกค้าให้แก่กรมสรรพากร ก่อนวันที่ 15 ของรอบเดือน 
2. ในกรณีที่มีการออกใบกำกับภาษีฉบับใหม่ จะต้องยกเลิกใบกำกับภาษีฉบับเดิมให้เรียบร้อย ภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 


เงื่อนไข e-Receipt ลดหย่อนภาษีปี 68

e-Receipt คือ

หากใครเคยยื่นภาษี หัก ณ ที่จ่าย ย่อมเข้าใจดีว่าการยื่นภาษีแต่ละครั้งมีเงื่อนไขต่างๆ มากมาย ซึ่งมาตรการ Easy e-Receipt ก็มีหลักเกณฑ์ที่คุณควรรู้เพื่อใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้อย่างถูกต้องตามรายละเอียดดังต่อไปนี้

ลดหย่อนได้ไม่เกิน 30,000 บาท 

ผู้ซื้อจะได้รับสิทธิ์ลดหย่อนในเบื้องต้น 30,000 บาท เมื่อซื้อสินค้าหรือบริการจากร้านค้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ตามที่กรมสรรพากรกำหนด ในกรณีที่ซื้อสินค้าจากร้านค้าที่ไม่ได้จดภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องใช้ใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) ด้วยเหตุนี้หากต้องการใช้สิทธิ์ผ่านโครงการ Easy e-Receipt จึงควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าร้านค้าที่คุณซื้อสินค้าหรือบริการสามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ได้ 

ลดหย่อนได้เพิ่มเติมอีกไม่เกิน 20,000 บาท 

ผู้ซื้อจะได้รับสิทธิ์ลดหย่อนเพิ่มเติมอีกไม่เกิน 20,000 บาท เมื่อซื้อสินค้าหรือบริการที่อยู่ในรายการดังต่อไปนี้ 

  • สินค้าหรือบริการจากวิสาหกิจชุมชนที่จดทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร 
  • สินค้าหรือบริการจากวิสาหกิจเพื่อสังคมที่จดทะเบียนกับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม (สวส.) 
  • สินค้าจากโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) 

ธุรกิจแบบไหนที่สามารถออก e-Receipt ได้

หากธุรกิจ E-Commerce ของคุณเพิ่งเริ่มต้นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และต้องการตรวจสอบว่าอยู่ในรายชื่อผู้ประกอบการ ที่สามารถออกใบ e-Tax Invoice เพื่อให้ผู้ซื้อใช้ลดหย่อนภาษีในโครงการดังกล่าวได้หรือไม่ สามารถเช็กได้ที่เว็บไซต์ etax.rd.go.th ของกรมสรรพากร 

ในกรณีที่ผู้ประกอบกิจการดำเนินธุรกิจในลักษณะธุรกิจส่วนตัว ที่มีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Easy e-Receipt ก็สามารถทำได้เช่นกัน โดยขึ้นทะเบียน บอ.01 ผ่านระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ของกรมสรรพากร หลังจากนั้นก็สามารถออกใบรับอิเล็กทรอนิกส์ให้ผู้ซื้อนำไปใช้ในการลดหย่อนภาษีได้ 


สินค้าและบริการที่ไม่เข้าร่วมโครงการ Easy e-Receipt

เช็กใบกํากับภาษี e-Tax

สินค้าหรือบริการที่ไม่เข้าร่วมโครงการ Easy e-Receipt มีดังต่อไปนี้ 

รายการสินค้าที่ไม่เข้าร่วม

  • ค่าสาธารณูปโภคต่าง ๆ เช่น ค่าบริการสัญญาณอินเทอร์เน็ต ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา เป็นต้น 
  • ค่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์และค่าซื้อเรือ รวมไปถึงค่าซื้อจักรยานที่ติดเครื่องยนต์ 
  • ค่าซื้อยาสูบ 
  • ค่าบริการอัดประจุไฟฟ้าสำหรับเติมยานพาหนะ ค่าซื้อน้ำมัน ค่าซื้อก๊าซ
  • ค่าซื้อสุรา เบียร์ และไวน์ 

รายการค่าบริการที่ไม่เข้าร่วม

  • ค่าเบี้ยประกันวินาศภัย 
  • ค่าที่พัก ได้แก่ ค่าที่พักในโรงแรม, โฮมสเตย์ไทย หรือที่พักที่ไม่ใช่โรงแรมตามกฎหมาย
  • ค่าบริการที่มีข้อตกลงการให้บริการ โดยผู้รับบริการสามารถใช้บริการนอกเหนือจากระยะเวลาที่มาตรการกำหนด เช่น ค่าสมาชิกต่าง ๆ
  • ค่าบริการจัดนำเที่ยวที่จ่ายให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว 

สินค้าหรือบริการที่ไม่สามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนได้

  • ค่าทำศัลยกรรม 
  • ค่ารักษาพยาบาล 
  • ทองคำแท่ง 
  • อุปกรณ์ทางการแพทย์ และหน้ากากอนามัย 
  • ของสด ได้แก่ เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ 

แม้ว่าสินค้าหรือบริการบางประเภทจะดูคล้ายกับรายการที่ไม่เข้าร่วม แต่หากผู้ประกอบกิจการออกใบกำกับภาษี (e-Tax) หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ e-Receipt ให้แก่ผู้ซื้ออย่างถูกต้อง ก็สามารถนำมาหักลดหย่อนได้ ซึ่งได้แก่ 

  • ค่าซ่อมรถ (หากมีการซ่อมและจ่ายค่าซ่อม ระหว่างวันที่ 16 มกราคม - 28 กุมภาพันธ์ 2568) 
  • ค่ากำเหน็จทองรูปพรรณ (เฉพาะส่วนที่เป็นมูลค่าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม) 
  • ค่าซื้อบัตรเติมเงิน และค่าซื้อบัตรของขวัญ (Gift Voucher) ในกรณีที่นำบัตรทั้งสองประเภทไปแลกซื้อสินค้าหรือรับบริการ ระหว่างวันที่ 16 มกราคม - 28 กุมภาพันธ์ 2568 

e-Receipt มาตรการภาครัฐที่ผู้ขายออนไลน์ห้ามพลาด! 

โครงการ Easy e-Receipt เป็นมาตรการทางภาครัฐที่ผู้ประกอบกิจการควรหมั่นติดตามอย่างสม่ำเสมอ เพราะในแต่ละปีมีรายละเอียดแตกต่างกันออกไป เช่น เงื่อนไขการเช็กใบกํากับภาษี e-Tax, ประเภทของสินค้าที่เข้าร่วมรายการ, คุณสมบัติของร้านค้าที่สามารถออก e-Tax Invoice รวมไปถึงระยะเวลาของโครงการ ซึ่งหากผู้ประกอบกิจการจัดโปรโมชันตรงตามช่วงเวลาที่โครงการกำหนด จะช่วยเพิ่มยอดขายได้อย่างมาก และยังเป็นการสร้างโอกาสใหม่ทางธุรกิจอีกด้วย 

KGP, Payment. Make It Smooth.

FB : kgpthailand

LinkedIn : Kasikorn Global Payment

www.kasikornglobalpayment.com


อ้างอิง

ข่าวสารและกิจกรรมอื่น ๆ

ติดตาม KGP ผ่านโซเชียลมีเดีย